การสร้าง innovator ด้วย education 4.0 กับแนวคิด CDIO ของ MIT

Education 4.0 - การสร้าง Innovator หรือ Startup โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Tech Startup หรือผู้ประกอบการยุคใหม่ด้านเทคโนโลยี ควรสร้างผ่านการเรียนการสอนแบบโครงงานที่มีการนำแนวคิดกระบวนการผลิตแบบ CDIO ซึ่งได้ถูกพัฒนาขึ้น ที่ Massachusetts Institute of Technology หรือ MITเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การสร้างผลิตภัณฑ์และธุรกิจผ่านกระบวนการผลิต โดยคำนึงถึงความคิดเห็นของผู้ใช้งานจริงที่เป็นกลุ่มเป้าหมายและความเป็นไปได้ทางธุรกิจเป็นสำคัญ
การสร้าง Innovator ด้วย Education 4.0 กับแนวคิด CDIO ของ MIT
รัฐบาลไทยชุดปัจจุบันกำลังส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการยุคใหม่ที่เรียกว่า StartUp เป็นอย่างมาก
เนื่องจากหลายประเทศได้นำเอาแนวคิด StartUp ไปใช้และประสบผลสำเร็จ[2]
ไม่ว่าจะเป็นประเทศอิสราเอล ที่สามารถสร้างบริษัทที่อยู่ตลาดหุ้นแนสแด็กได้มากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐอเมริกา
หรือ แม้กระทั่งสหรัฐอเมริกาเอง ก็มีนโยบาย Startup America ในรัฐบาลโอบามา เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจที่ซบเซาของประเทศ
นอกจากนี้ รัฐบาลชุดล่าสุดของเกาหลีใต้ ก็ได้ผลักดันนโยบายสร้าง Startup ที่ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมา
เนื่องจากหลายประเทศได้นำเอาแนวคิด StartUp ไปใช้และประสบผลสำเร็จ[2]
ไม่ว่าจะเป็นประเทศอิสราเอล ที่สามารถสร้างบริษัทที่อยู่ตลาดหุ้นแนสแด็กได้มากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐอเมริกา
หรือ แม้กระทั่งสหรัฐอเมริกาเอง ก็มีนโยบาย Startup America ในรัฐบาลโอบามา เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจที่ซบเซาของประเทศ
นอกจากนี้ รัฐบาลชุดล่าสุดของเกาหลีใต้ ก็ได้ผลักดันนโยบายสร้าง Startup ที่ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมา
ในฝั่งอาเซียนเอง ประเทศสิงคโปร์ และ มาเลเซีย ก็มีผู้ประกอบการ Startup ที่ประสบความสำเร็จอยู่ไม่น้อย
ไม่ว่าจะเป็น Lazada หรือ Grab Taxi ที่ต่างก็มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ก็เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จอันโด่งดังของ Startup ในแถบอาเซียนได้เป็นอย่างดี
ไม่ว่าจะเป็น Lazada หรือ Grab Taxi ที่ต่างก็มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ก็เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จอันโด่งดังของ Startup ในแถบอาเซียนได้เป็นอย่างดี

ถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยจะมีนโยบายสนับสนุน Startup เป็นอย่างมาก
โดยจะเห็นได้จากเม็ดเงินที่อัดฉีดผ่านกองทุนและโครงการต่าง ๆ และ การออกกฎหมาย
รวมทั้งการลดหย่อนภาษีเพื่อช่วยผู้ประกอบการ Startup และ Venture Capital
อย่างไรก็ตาม หน่วยงานภาครัฐในประเทศไทยยังคงไม่มีระบบนิเวศ และ กระบวนการสร้างผู้ประกอบการ Startup อย่างชัดเจน
เช่น สถานที่ในการทำงาน ระบบการให้คำปรึกษา ความช่วยเหลือจากภาครัฐในการหาตลาดที่เหมาะสม รวมถึงกฎหมายบางอย่างที่ล้าสมัย
นอกจากการสนับสนุนจากภาครัฐแล้ว สถานศึกษาเองก็ยังไม่มี know-how ในการสร้าง Startup อย่างเป็นระบบที่ชัดเจนเช่นกัน
โดยจะเห็นได้จากเม็ดเงินที่อัดฉีดผ่านกองทุนและโครงการต่าง ๆ และ การออกกฎหมาย
รวมทั้งการลดหย่อนภาษีเพื่อช่วยผู้ประกอบการ Startup และ Venture Capital
อย่างไรก็ตาม หน่วยงานภาครัฐในประเทศไทยยังคงไม่มีระบบนิเวศ และ กระบวนการสร้างผู้ประกอบการ Startup อย่างชัดเจน
เช่น สถานที่ในการทำงาน ระบบการให้คำปรึกษา ความช่วยเหลือจากภาครัฐในการหาตลาดที่เหมาะสม รวมถึงกฎหมายบางอย่างที่ล้าสมัย
นอกจากการสนับสนุนจากภาครัฐแล้ว สถานศึกษาเองก็ยังไม่มี know-how ในการสร้าง Startup อย่างเป็นระบบที่ชัดเจนเช่นกัน
กระบวนการการสร้าง Startup ที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง คือการใช้ วงจร “สร้าง-วัดผล-เรียนรู้” [3]
ซึ่งหมายถึงกระบวนการตั้งแต่การ “สร้าง” ผลิตภัณฑ์ แล้วนำไปให้ผู้ใช้ทดลองใช้งานเพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้ เป็นการ “วัดผล” ของผลิตภัณฑ์นั้น
จากนั้นนำความคิดเห็นที่ได้ มาวิเคราะห์สิ่งที่ได้ “เรียนรู้” แล้วนำมาปรับผลิตภัณฑ์เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น
ซึ่งวงจร “สร้าง-วัดผล-เรียนรู้” นี้ ในแต่ละรอบต้องทำอย่างมีวัตถุประสงค์และระบุกลุ่มผู้ใช้เป้าหมายที่ชัดเจน
จากนั้นทำวนซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมั่นใจได้ว่าได้ผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้และสามารถสร้างธุรกิจได้
ซึ่งหมายถึงกระบวนการตั้งแต่การ “สร้าง” ผลิตภัณฑ์ แล้วนำไปให้ผู้ใช้ทดลองใช้งานเพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้ เป็นการ “วัดผล” ของผลิตภัณฑ์นั้น
จากนั้นนำความคิดเห็นที่ได้ มาวิเคราะห์สิ่งที่ได้ “เรียนรู้” แล้วนำมาปรับผลิตภัณฑ์เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น
ซึ่งวงจร “สร้าง-วัดผล-เรียนรู้” นี้ ในแต่ละรอบต้องทำอย่างมีวัตถุประสงค์และระบุกลุ่มผู้ใช้เป้าหมายที่ชัดเจน
จากนั้นทำวนซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมั่นใจได้ว่าได้ผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้และสามารถสร้างธุรกิจได้
หากจะมองไป ในวงจร “สร้าง-วัดผล-เรียนรู้” นี้ ในขั้นตอนการสร้างชิ้นงาน
ต้องอาศัยกระบวนการทางวิศวกรรมในการพัฒนาชิ้นงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ซึ่ง innovator หรือ วิศวกรต้องมีส่วนอย่างมากในกระบวนการนี้
ดังนั้น การเรียนการสอนในหลักสูตรที่ผลิตวิศวกรของทุกสถาบันจึงใช้การเรียนการสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐานเป็นส่วนสำคัญมาเป็นเวลาช้านาน
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์จากอดีตจนถึงปัจจุบันได้บรรจุวิชาโครงงานเป็นปราการด่านสุดท้าย
ที่นักศึกษาจะได้พิสูจน์ความสามารถของตนเองในการแก้ปัญหา ด้วยความรู้และทักษะที่ได้เรียนมาตลอดชีวิตการเป็นนิสิตนักศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์
นิสิตนักศึกษาเหล่านี้ต้องพัฒนาชิ้นงานเพื่อแก้ปัญหาทางวิศวกรรมศาสตร์ในวิชานี้
ซึ่งต้องอาศัยการศึกษาปัญหา การค้นคว้าทฤษฎีและงานที่เกี่ยวข้อง การออกแบบ
การพัฒนาชิ้นงาน และการทดสอบระบบที่ได้พัฒนาขึ้น รวมถึงการเขียนรายงานโครงงาน
และการสอบโครงงานผ่านการนำเสนอและตอบคำถาม ที่เข้มข้นไม่ต่างจากการสอบวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทในบางสาขาเลยทีเดียว
การเรียนวิชาโครงงานจึงเป็นวิชาที่สำคัญยิ่งต่อการเรียนการสอนในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ และแน่นอนว่า มิอาจหลีกเลี่ยงการเรียนการสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐานในรายวิชาได้เลย
ปัจจุบัน มีการประยุกต์ใช้การเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานอย่างเข้มข้นเพื่อมุ่งเป้าไปยังการสร้าง Innovator และ Startup ด้วยแนวคิด CDIO [1]
ซึ่งได้ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2000 ที่ Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT สถาบันผลิตวิศวกรชั้นนำของโลกในประเทศสหรัฐอเมริกา
ร่วมกับมหาวิทยาลัยจากประเทศสวีเดนอีก 3 แห่ง (Chalmers University of Technology, KTH Royal Institute of Technology และ Linkoping University)
โดยในปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ CDIO Initiative อยู่ราว 200 แห่งทั่วโลก
แนวคิด CDIO มีพื้นฐานมาจากวงจรการพัฒนาระบบทางวิศวกรรมศาสตร์ และมองเห็นว่าวงจรนี้เป็นบริบทที่เหมาะสมกับการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์
CDIO ย่อมาจาก Conceive-Design-Implement และ Operating ซึ่งก็คือวงจรชีวิตของการพัฒนาระบบด้านวิศวกรรมศาสตร์นั่นเอง
ขั้นตอนการ Conceive จะรวมถึงการระบุความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งพิจารณาถึงเทคโนโลยี เป้าหมายขององค์การ กฎระเบียบ และ การพัฒนาแผนธุรกิจและแผนด้านเทคนิคต่าง ๆ
ส่วนขั้นตอนการ Design จะเป็นการออกแบบระบบและขั้นตอนวิธีต่าง ๆ ถัดมา
คือขั้นตอนการ Implement จะเป็นการพัฒนาระบบ หรือ การผลิต ซึ่งรวมถึงการผลิต การเขียนโปรแกรม และ การทดสอบการใช้งานระบบ
ส่วนขั้นตอนสุดท้าย การ Operate เป็นการใช้งานระบบหรือผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นและรวมถึงการดูแลรักษาปรับปรุงระบบและผลิตภัณฑ์
ขั้นตอนการ Conceive จะรวมถึงการระบุความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งพิจารณาถึงเทคโนโลยี เป้าหมายขององค์การ กฎระเบียบ และ การพัฒนาแผนธุรกิจและแผนด้านเทคนิคต่าง ๆ
ส่วนขั้นตอนการ Design จะเป็นการออกแบบระบบและขั้นตอนวิธีต่าง ๆ ถัดมา
คือขั้นตอนการ Implement จะเป็นการพัฒนาระบบ หรือ การผลิต ซึ่งรวมถึงการผลิต การเขียนโปรแกรม และ การทดสอบการใช้งานระบบ
ส่วนขั้นตอนสุดท้าย การ Operate เป็นการใช้งานระบบหรือผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นและรวมถึงการดูแลรักษาปรับปรุงระบบและผลิตภัณฑ์

ถึงแม้ว่า กรอบงานของ CDIO จะครอบคลุมตั้งแต่การเรียนการสอน ผลการเรียนรู้ การวัดผล หลักสูตร สถานที่ ไปจนถึงการพัฒนาคณาจารย์
แต่ในการดำเนินงาน สาขาวิชาที่ต้องการนำ CDIO ไปใช้อาจเลือกที่จะเริ่มต้นจากการนำไปใช้เพียงบางมาตรฐานและค่อย ๆ ไต่ระดับไปตามเกณฑ์การวัดผล(รูบริกซ์)ของแต่ละมาตรฐานก็ได้
แต่ในการดำเนินงาน สาขาวิชาที่ต้องการนำ CDIO ไปใช้อาจเลือกที่จะเริ่มต้นจากการนำไปใช้เพียงบางมาตรฐานและค่อย ๆ ไต่ระดับไปตามเกณฑ์การวัดผล(รูบริกซ์)ของแต่ละมาตรฐานก็ได้
จะเห็นได้ว่าวงจร “สร้าง-วัดผล-เรียนรู้” นี้ สอดคล้องกับแนวคิดแบบ CDIO
โดยอาจมองว่าวงจร “สร้าง-วัดผล-เรียนรู้” ก็คือ CDIO แบบที่มีการทำวนซ้ำจนกว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมที่สุดนั่นเอง
ดังนั้นกระบวนการสร้าง Startup จึงสอดคล้องกับแนวคิด CDIO ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ทางวิศวกรรมในการทำธุรกิจนั่นเอง
ดังนั้นการสร้าง Innovator หรือ Startup โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Tech Startup หรือผู้ประกอบการยุคใหม่ด้านเทคโนโลยี
จึงควรสร้างผ่านการเรียนการสอนแบบโครงงานที่มีการนำแนวคิดกระบวนการผลิตแบบ CDIO เข้ามา
เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การสร้างผลิตภัณฑ์และธุรกิจผ่านกระบวนการผลิต โดยคำนึงถึงความคิดเห็นของผู้ใช้งานจริงที่เป็นกลุ่มเป้าหมายและความเป็นไปได้ทางธุรกิจเป็นสำคัญ
ปัจจุบัน ในประเทศไทย มีคณะวิศวกรรมศาสตร์จาก 2 สถาบันที่ได้นำแนวคิด CDIO ไปใช้อย่างจริงจังและเข้มแข็ง ได้แก่
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยทั้งสองแห่งได้ร่วมเป็นภาคีกับ CDIO Initiative เรียบร้อยแล้ว
ซึ่งตัวแทนจากทั้งสองสถาบันได้มาแลกเปลี่ยนในงานประชุมวิชาการวิศวศึกษา ซึ่งจัดโดยสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่าน
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เราจะได้เห็นความสำเร็จในการสร้างทั้ง Innovator และนำไปสู่การสร้าง Startup ที่เข้มแข็งให้กับประเทศในอนาคตอันใกล้นี้
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยทั้งสองแห่งได้ร่วมเป็นภาคีกับ CDIO Initiative เรียบร้อยแล้ว
ซึ่งตัวแทนจากทั้งสองสถาบันได้มาแลกเปลี่ยนในงานประชุมวิชาการวิศวศึกษา ซึ่งจัดโดยสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่าน
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เราจะได้เห็นความสำเร็จในการสร้างทั้ง Innovator และนำไปสู่การสร้าง Startup ที่เข้มแข็งให้กับประเทศในอนาคตอันใกล้นี้
เอกสารอ้างอิง
[1] CDIO Initiative. CDIO. Available at: https://www.cdio.org. last accessed: May 8th, 2016.
[2] Den Senor and Saul Singer. Start-Up Nation. Twelve, Inc., Reprint edition (September 7, 2011).
[3] Eric Ries. The Lean Startup: How Today's Entrepreneurs Use Continuous Innovation to Create Radically Successful Businesses. Crown Business, Inc., (2011).
อาจารย์ประจำ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
Tags: