บทความ Excel, Access, SQL Server, ASP.NET, Windows, Database, IT
PowerPoint Online สามารถ Share สไลด์แบบสดๆ ผ่าน QR-Code ได้แล้ว
Microsoft Education ได้เปิดเผยลูกเล่นใหม่ใน PowerPoint เวอร์ชั่นออนไลน์ เป็นการนำเสนอสไลด์แบบสดๆ แล้วแชร์ผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยการสแกน QR Code ทำให้เราส่งต่อสไลด์ ไปยังคอมพิวเตอร์ มือถือ อุปกรณ์ปลายทางต่างๆ ที่ต้องการชมสไลด์ของเราได้อย่างง่ายดาย

การอ่าน Query Execution Plan ตอนที่ 2
ก่อนหน้านี้ บทความ การอ่าน Query Execution Plan ตอนที่ 1 เป็นการปูพื้นฐานเกี่ยวกับชนิดของการแสดงผล Compiled Plan (Query Execution Plan ที่ถูกเลือกจากกลไก Query Optimization แล้ว) ทั้งแบบ Estimated และ Actual และตัวอย่างการสร้างและปรับแต่ง Index ชนิด Covering Index กันไปแล้ว สำหรับ การอ่าน Query Execution Planตอนที่ 2 นี้ ผู้เขียนจะเจาะไปที่ตัวดำเนินการที่พบบ่อย รวมถึงความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างตารางแบบต่าง ๆ กัน

.NET Core คืออะไร
.NET Core มีองค์ประกอบหลายส่วน อาทิ ตัว run time ชื่อ CoreCLR ซึ่งเป็นตัวrun time ที่มีทุกอย่างครบสมบูรณ์เช่นเดียวกับตัว run time CLR ใน .NET Framework ของ Windows หน้าที่ของมันคือทำตัวเป็น virtual machine เพื่อ Run และดูแลโปรแกรมที่เขียนไว้เพื่อให้ทำงานใน .NET

Power BI Realtime Dashboard
Power BI Realtime Dashboard เป็นการนำเอา Power BI Report มาแสดงผลแบบ Realtime ไม่ต้องรอ Sync ข้อมูลใด ๆ เมื่อ User ทำการ Input ข้อมูลก็จะแสดงผลได้ทันที โดยใช้ความสามารถของ Microsoft Power Platform โดยในกรณีศึกษานี้

Excel Functions A to Z รวมสูตร 26 สูตร พร้อมวิธีใช้งาน และ ตัวอย่าง ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ
สูตรคำนวณ Excel มีทั้งหมด 26 สูตร พร้อมวิธีใช้งาน และ ตัวอย่าง ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ 26 สูตร AVERAGE, BAHTTEXT, COUNTA, DATE, EOMONTH, FV, GETPIVOTDATA, HYPERLINK, INDEX, LEN, MID, NOW, OFFSET, PROPER, QUOTIENT, RIGHT, SUM, TEXTJOIN, TRIM, UPPER, VLOOKUP, WEEKNUM, WORKDAY.INTL, XLOOKUP, YEAR, Z.TEST

มีอะไรใหม่ใน .NET Core 2 และ C# 7 : Generalized Async Return Types
คุณสมบัติ “การทำให้ค่าส่งกลับของ Async กว้างขึ้น” (Generalized Async Return Types ย่อ GART) เป็นคุณสมบัติใหม่ของภาษา C# 7.0 ที่ช่วยให้การส่งค่ากลับจาก Method แบบ Async ไม่จำเป็นต้องมีชนิดข้อมูลเป็น Object อย่างแต่ก่อน เดิมทีการส่งค่ากลับจากmethodแบบAsyncเป็นได้แค่ task, task หรือไม่ก็ void ซึ่งไม่ดีเพราะการเป็น task เป็น Reference Type การใช้งานมันจะเกิดการจองที่หน่วยความจำสำหรับ object หรือที่เรียกว่า boxing ที่เราต้องการหลีกเลี่ยงเพราะจะทำให้เกิดปัญหาคอขวด

การดู Critical Path ของโครงการ ใน Microsoft Project
ปัญหาหนึ่งที่ผู้จัดการโครงการพบบ่อย ๆ ก็คือ ระหว่างที่ดำเนินโครงการ มีงานบางงานมีปัญหาเกิดขึ้น เช่นวัตถุดิบมาช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ หรือพนักงานต้องการลาในวันทำงาน ผู้จัดการโครงการจะตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างไร หากอนุมัติไปแล้วงานที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบหรือพนักงานดังกล่าวจะเสร็จช้ากว่ากำหนด จะทำให้วันเสร็จสิ้นของทั้งโครงการต้องเลื่อนไปหรือไม่ ซึ่งก็จะมีผลต่อค่าปรับและความน่าเชื่อถือขององค์กรในอนาคต ปัญหาในลักษณะนี้สามารถป้องกันได้ โดยการพิจารณาว่างานที่เกิดปัญหาขึ้นอยู่ใน Critical Path หรือไม่

การดูค่าใช้จ่ายโครงการแยกตามเดือนด้วย Microsoft Project
โครงการขนาดใหญ่มักมาพร้อมกับงานย่อย(tasks)จำนวนมาก และมีการกำหนดการใช้งานทรัพยากรที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ คน หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และแน่นอนว่าผู้จัดการโครงการต้องนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว โปรแกรม Microsoft Project เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้จัดการโครงการขนาดใหญ่โดยเฉพาะ ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดในโครงการคงหนึไม่พ้นการควบคุมและบริหารค่าใช้จ่ายให้อยู่ภายใต้งบประมาณที่ได้กำหนดไว้

การอ่าน Query Execution Plan ตอนที่ 1
บทความนี้ต่อจากบทความ “เตรียมพร้อมก่อนอ่าน Execution Plan” หากผู้อ่านเปิดมาเจอบทความแล้วยังไม่ได้อ่านบทความแรกผู้เขียนแนะนำให้อ่านก่อน เพราะจะได้ทราบถึงขั้นตอนการประมวลผลคิวรี่ว่ามีกลไกเช่นไร สำหรับบทความนี้ผู้เขียนจะใช้ 2 เครื่องมือเป็นหลักคือ Microsoft SQL Server Management Studio (SSMS) และ Sentryone Plan Explorer หากผู้อ่านต้องการทำตามตัวอย่างในบทความ ก็สามารถหาดาวน์โหลดได้จาก https://www.sentryone.com/plan-explorer

มีอะไรใหม่ใน .NET Core 2 และ C# 7 : Pattern Matching ด้วยคำสั่ง Switch
ในภาษา C# เวอร์ชัน 7.0 การตรวจสอบเพื่อการจับคู่รูปแบบ (Pattern Matching: PM) ด้วยคำสั่ง if และ switch ได้รับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ยืดหยุ่นกว่าเดิม เขียนโค้ดได้สะดวกขึ้น แต่เดิมการทำ PM ด้วยหลักวัตถุวิธีเราจะสร้างคลาสฐานเป็นแบบ “abstract” จากนั้นจะใช้กรรมวิธีสืบคุณสมบัติเป็นคลาสลูกหลาย ๆ แบบตามต้องการ ส่วนเก็บข้อมูลและโค้ดเพื่อจัดการข้อมูลจะถูกผนึกไว้เป็นหน่วยเดียวกัน ซึ่งเป็นการ “เชื่อมแน่น” (tight coupling) ในกรณีที่เราต้องการการ “เชื่อมหลวม” (loose coupling) เราจะแยก ส่วนเก็บข้อมูลและโค้ดเพื่อจัดการข้อมูลออกจากกัน จากนั้นทำ PM ด้วยคำสั่ง if และ switch ซึ่งหากมีรูปแบบจำนวนวนมาก โค้ดจะยืดยาวเยิ่นเย้อ
