เทคนิคการเลือกใช้ฟอนต์สำหรับงานนำเสนอ (Font for Presentation)

ในการสร้างสรรค์งานนำเสนอ นอกจากจะต้องคำนึงถึงเรื่องของเนื้อหาที่กระชับ เข้าใจง่าย และ รูปแบบกราฟิกที่น่าสนใจแล้ว
เรื่องของการเลือกใช้ฟอนต์ให้เหมาะกับงานนำเสนอก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน
เพราะรูปแบบฟอนต์บ่งบอกได้ถึงแนวคิดในงานนำเสนอ กำหนดทิศทางของงานให้เป็นไปในแนวเดียวกัน
ทำให้งานดูมีสไตล์และมีการดีไซน์ที่ดี รวมถึงทำให้ผู้ที่อ่านเข้าใจ Concept ของงานเราได้ง่ายขึ้นอีกด้วยบทความนี้
จึงมาแนะนำเรื่องของการเลือกใช้ฟอนต์ที่สื่อความหมายที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบงานนำเสนอของคุณให้โดนใจ
- การเลือกใช้ฟอนต์ Serif หรือ Sans Serif
หลายๆ คนคงเคยคุ้นหน้าคุ้นตากับฟอนต์ Serif และ Sans Serif กันบ้างแล้ว
แต่อาจไม่แน่ใจว่าการเลือกใช้ฟอนต์ทั้ง 2 แบบนี้ ส่งผลต่องานอย่างไร
ก่อนอื่นเรามารู้จักฟอนต์ Serif ก่อน ฟอนต์นี้จะมีขีดเล็กๆ หรือที่เรียกว่าเชิงที่ปลายตัวอักษร
ฟอนต์ประเภทนี้เป็นฟอนต์ดั้งเดิม นิยมใช้สำหรับพิมพ์เนื้อความ
เพราะมีส่วนช่วยทำให้อ่านได้ง่ายขึ้นเมื่อกวาดสายตาไปตามเนื้อหา
การใช้ฟอนต์นี้จะทำให้งานดูคลาสสิคมากขึ้น และนิยมใช้กับงานที่เป็นทางการ
ส่วนฟอนต์ Sans Serif จะตรงข้ามกับ ฟอนต์ Serif คือไม่มีเชิง เป็นตัวอักษรเรียบๆ เหมาะกับการใช้ในส่วนของหัวข้อ
ฟอนต์สไตล์นี้จะทำให้งานดูทันสมัยขึ้น เพราะความเรียบง่ายของรูปแบบฟอนต์นั่นเอง
แต่อาจไม่แน่ใจว่าการเลือกใช้ฟอนต์ทั้ง 2 แบบนี้ ส่งผลต่องานอย่างไร
ก่อนอื่นเรามารู้จักฟอนต์ Serif ก่อน ฟอนต์นี้จะมีขีดเล็กๆ หรือที่เรียกว่าเชิงที่ปลายตัวอักษร
ฟอนต์ประเภทนี้เป็นฟอนต์ดั้งเดิม นิยมใช้สำหรับพิมพ์เนื้อความ
เพราะมีส่วนช่วยทำให้อ่านได้ง่ายขึ้นเมื่อกวาดสายตาไปตามเนื้อหา
การใช้ฟอนต์นี้จะทำให้งานดูคลาสสิคมากขึ้น และนิยมใช้กับงานที่เป็นทางการ
ส่วนฟอนต์ Sans Serif จะตรงข้ามกับ ฟอนต์ Serif คือไม่มีเชิง เป็นตัวอักษรเรียบๆ เหมาะกับการใช้ในส่วนของหัวข้อ
ฟอนต์สไตล์นี้จะทำให้งานดูทันสมัยขึ้น เพราะความเรียบง่ายของรูปแบบฟอนต์นั่นเอง

การเลือกใช้ฟอนต์ Serif หรือ Serif

ตัวอย่างฟอนต์แบบ Sans Serif
- ฟอนต์ภาษาไทยมีหัว และไม่มีหัว
ในภาษาไทยตัวอักษรจะมีหัว แต่ในการออกแบบก็มีการพัฒนารูปแบบฟอนต์ภาษาไทยให้มีทั้งแบบมีหัว
และไม่มีหัวเพื่อให้งานออกแบบสื่อความหมายได้หลากหลายขึ้น
การใช้ฟอนต์มีหัวแสดงความเป็นทางการคล้ายๆ กับ Serif ของภาษาอังกฤษ
และทำให้อ่านง่าย ไม่สับสนในเรื่องของพยัญชนะ
ส่วนฟอนต์ไม่มีหัว เป็นตัวอักษรที่ให้ความรู้สึกถึงความทันสมัย
ซึ่งจะเหมือนกับฟอนต์แบบ San Serif ของตัวอักษรในภาษาอังกฤษ
นิยมใช้ตัวอักษรนี้กับงานที่ดูร่วมสมัยและเป็นสากล
และไม่มีหัวเพื่อให้งานออกแบบสื่อความหมายได้หลากหลายขึ้น
การใช้ฟอนต์มีหัวแสดงความเป็นทางการคล้ายๆ กับ Serif ของภาษาอังกฤษ
และทำให้อ่านง่าย ไม่สับสนในเรื่องของพยัญชนะ
ส่วนฟอนต์ไม่มีหัว เป็นตัวอักษรที่ให้ความรู้สึกถึงความทันสมัย
ซึ่งจะเหมือนกับฟอนต์แบบ San Serif ของตัวอักษรในภาษาอังกฤษ
นิยมใช้ตัวอักษรนี้กับงานที่ดูร่วมสมัยและเป็นสากล

ตัวอย่างฟอนต์แบบมีหัว

ตัวอย่างฟอนต์แบบไม่มีหัว
- ฟอนต์ลายมือ
ฟอนต์ประเภทนี้จะเป็นฟอนต์ที่ดูไม่เป็นทางการ ใช้กับงานนำเสนอที่ต้องการให้มีความเป็นกันเอง
หากคุณสร้างฟอนต์ที่เกิดจากลายมือของคุณเอง นอกจากจะดูเป็นกันเองแล้ว
ยังสื่อให้คนอื่นรู้ว่านี่คือตัวตนของคุณ เปรียบเสมือนเป็น Signature ในงานได้อีกด้วย
หากคุณสร้างฟอนต์ที่เกิดจากลายมือของคุณเอง นอกจากจะดูเป็นกันเองแล้ว
ยังสื่อให้คนอื่นรู้ว่านี่คือตัวตนของคุณ เปรียบเสมือนเป็น Signature ในงานได้อีกด้วย

ตัวอย่างฟอนต์แบบลายมือ
- ฟอนต์แบบปลายหวัด (Script)
รูปแบบของฟอนต์ประเภทนี้ทำให้งานนำเสนอดูเคลื่อนไหว ดูมีชีวิตชีวา อ่อนช้อย
และดึงดูดสายตาคนได้ ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ในงานที่สื่อถึงความสวยงาม อ่อนหวาน หรูหรา
แต่จะใช้ในส่วนหัวข้อ หรือส่วนที่เป็นจุดเด่นของงานที่ต้องการเน้น ไม่เหมาะที่จะใช้ในส่วนที่เป็นเนื้อความ
เพราะจะทำให้อ่านยาก
และดึงดูดสายตาคนได้ ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ในงานที่สื่อถึงความสวยงาม อ่อนหวาน หรูหรา
แต่จะใช้ในส่วนหัวข้อ หรือส่วนที่เป็นจุดเด่นของงานที่ต้องการเน้น ไม่เหมาะที่จะใช้ในส่วนที่เป็นเนื้อความ
เพราะจะทำให้อ่านยาก

ตัวอย่างฟอนต์แบบปลายหวัด
- การเลือกใช้ฟอนต์ยอดฮิตแนวเรียบง่าย ทันสมัย (Flat Design)
Flat Design คือการออกแบบงานให้ดูเรียบง่าย รายละเอียดไม่เยอะ แต่ดูโดดเด่น
ซึ่งก็ส่งผลให้แนวโน้มการเลือกใช้ฟอนต์ให้เหมาะกับงานสไตล์นี้มีมากขึ้นตามมาด้วย
การเลือกใช้ฟอนต์แนวนี้ เราอาจจะเลือกใช้ฟอนต์แบบ Serif
คือไม่มีเชิง เป็นตัวอักษรเรียบๆ แต่ดูแข็งแรง และมีความทันสมัย
ซึ่งในการจัดวางฟอนต์ ส่วนใหญ่จะใช้ฟอนต์สีขาว วางบนพื้นหลัง (Background) ที่มีสีสัน
หรือใช้ฟอนต์สีขาววางบนภาพกราฟิก หรือภาพถ่าย ก็ดูดีไปอีกแบบ
ซึ่งก็ส่งผลให้แนวโน้มการเลือกใช้ฟอนต์ให้เหมาะกับงานสไตล์นี้มีมากขึ้นตามมาด้วย
การเลือกใช้ฟอนต์แนวนี้ เราอาจจะเลือกใช้ฟอนต์แบบ Serif
คือไม่มีเชิง เป็นตัวอักษรเรียบๆ แต่ดูแข็งแรง และมีความทันสมัย
ซึ่งในการจัดวางฟอนต์ ส่วนใหญ่จะใช้ฟอนต์สีขาว วางบนพื้นหลัง (Background) ที่มีสีสัน
หรือใช้ฟอนต์สีขาววางบนภาพกราฟิก หรือภาพถ่าย ก็ดูดีไปอีกแบบ

ตัวอย่างการใช้ฟอนต์สำหรับงานสไตล์ Flat Design

ตัวอย่างการใช้ฟอนต์สำหรับงานสไตล์ Flat Design แบบจัดวางบนภาพถ่าย
-
การผสมผสานฟอนต์
ในงานนำเสนอหนึ่งงาน ไม่ควรจะใช้ฟอนต์ให้หลากหลายจนเกินไป
เพราะจะทำให้งานดูไม่มี Concept ดูกระจัดกระจาย แต่ใช่ว่าเราจะไม่สามารถผสมผสานฟอนต์ได้
เพียงแต่ว่าเราควรเลือกผสมให้เหมาะสมนั่นเอง
เช่น ฟอนต์ที่มีความโดดเด่นสูง หรือสื่อความหมายของงานคุณได้มากที่สุด
ให้นำมาใช้ในส่วนของหัวเรื่อง หรือหัวข้อ แต่ในส่วนที่เป็นเนื้อความเราอาจจะเลือกใช้ฟอนต์ที่อ่านง่าย
เนื่องจากในส่วนของเนื้อความขนาดตัวอักษรจะเล็กลง และมีจำนวนตัวอักษรมากขึ้น
ดังนั้น ควรเลือกที่อ่านง่าย ชัดเจน ตั้งแต่ครั้งแรกที่เห็น วิธีการง่ายๆ
หากคุณไม่แน่ใจว่า ฟอนต์ที่เลือกมาผสมจะเข้ากันหรือไม่ ให้คุณลองจัดวางฟอนต์ไว้ด้วยกัน
แล้วลองสังเกตดูว่าทำให้ความรู้สึกในการรับรู้เปลี่ยนไปหรือไม่
หากยังดูเป็นงานเดียวกัน เข้ากัน ก็สามารถนำไปใช้ได้เลย
หากลองจัดวางแล้ว ดูมากันคนละงาน ก็ให้ลองสลับเปลี่ยนใหม่เพื่อหาฟอนต์ที่เหมาะสมที่สุด
เพราะจะทำให้งานดูไม่มี Concept ดูกระจัดกระจาย แต่ใช่ว่าเราจะไม่สามารถผสมผสานฟอนต์ได้
เพียงแต่ว่าเราควรเลือกผสมให้เหมาะสมนั่นเอง
เช่น ฟอนต์ที่มีความโดดเด่นสูง หรือสื่อความหมายของงานคุณได้มากที่สุด
ให้นำมาใช้ในส่วนของหัวเรื่อง หรือหัวข้อ แต่ในส่วนที่เป็นเนื้อความเราอาจจะเลือกใช้ฟอนต์ที่อ่านง่าย
เนื่องจากในส่วนของเนื้อความขนาดตัวอักษรจะเล็กลง และมีจำนวนตัวอักษรมากขึ้น
ดังนั้น ควรเลือกที่อ่านง่าย ชัดเจน ตั้งแต่ครั้งแรกที่เห็น วิธีการง่ายๆ
หากคุณไม่แน่ใจว่า ฟอนต์ที่เลือกมาผสมจะเข้ากันหรือไม่ ให้คุณลองจัดวางฟอนต์ไว้ด้วยกัน
แล้วลองสังเกตดูว่าทำให้ความรู้สึกในการรับรู้เปลี่ยนไปหรือไม่
หากยังดูเป็นงานเดียวกัน เข้ากัน ก็สามารถนำไปใช้ได้เลย
หากลองจัดวางแล้ว ดูมากันคนละงาน ก็ให้ลองสลับเปลี่ยนใหม่เพื่อหาฟอนต์ที่เหมาะสมที่สุด

ภาพตัวอย่างการใช้ฟอนต์แบบผสมผสาน ซึ่งในงานจะใช้ฟอนต์ประมาณ 3 ฟอนต์
เพื่อเพิ่มลูกเล่น ให้งานน่าสนใจ และเน้นบางจุด
ซึ่งโดยภาพรวมแล้ว ฟอนต์ทั้งหมดที่ผสมผสานกันก็ยังคงให้ความรู้สึกเรียบง่าย แต่ทันสมัยนั่นเอง
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าในการเลือกใช้ฟอนต์ให้เหมาะสมกับการสื่อความหมายในงานนำเสนอก็มีความสำคัญอย่างมากเพื่อเพิ่มลูกเล่น ให้งานน่าสนใจ และเน้นบางจุด
ซึ่งโดยภาพรวมแล้ว ฟอนต์ทั้งหมดที่ผสมผสานกันก็ยังคงให้ความรู้สึกเรียบง่าย แต่ทันสมัยนั่นเอง
สามารถทำให้คนอื่นเข้าใจงานเรามากขึ้น หรือทำให้คนมองงานเราดูไม่มีสไตล์ ไม่สื่อความหมายได้เช่นกัน
ดังนั้น ลองเอาเทคนิคง่ายๆ ในการเลือกใช้ฟอนต์ข้างต้นไปปรับใช้ในการออกแบบงานนำเสนอของคุณ
รับรองได้ว่าในการนำเสนองานครั้งต่อไป งานของคุณจะดูดี มีสไตล์ ไม่แพ้นักออกแบบมืออาชีพอย่างแน่นอน