การสร้างนวัตกรรมในองค์กรใหญ่: กรณีของกลุ่ม ปตท. PTT

ในขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังซบเซา ราคาน้ำมันดิ่งเหวอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2014
ส่งผลกระทบต่อธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอย่างหนักจนถึงขั้นปิดหลุมหยุดผลิต [1]
ประเทศผู้ผลิตน้ำมันหลายประเทศเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นในอเมริกาใต้อย่าง เวเนซูเอลา [2]
และลามไปถึงประเทศกลุ่มอาหรับยักษ์ใหญ่แห่งวงการน้ำมันอย่างซาอุดิอาระเบีย [3]
ส่งผลกระทบต่อธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอย่างหนักจนถึงขั้นปิดหลุมหยุดผลิต [1]
ประเทศผู้ผลิตน้ำมันหลายประเทศเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นในอเมริกาใต้อย่าง เวเนซูเอลา [2]
และลามไปถึงประเทศกลุ่มอาหรับยักษ์ใหญ่แห่งวงการน้ำมันอย่างซาอุดิอาระเบีย [3]
ในเวลาเดียวกัน ประเทศผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำอย่างเยอรมันนีกลับเตรียมยุติการผลิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมันภายในปี 2030 [4]
ดังนั้น ช่วงเวลาอันรุ่งโรจน์ของธุรกิจน้ำมันอาจกำลังถึงจุดสิ้นสุดในเร็ววัน
กลุ่มธุรกิจพลังงานยักษ์ใหญ่ของไทย อย่าง กลุ่ม ปตท. ก็มิได้นิ่งนอนใจ
กลุ่ม ปตท.เอง ได้มีการวางแผนในการปรับตัวในธุรกิจพลังงาน โดยได้มีมาตรการต่าง ๆ เข้ามาเพื่อหาธุรกิจใหม่ที่ยั่งยืนมารองรับ
ทั้งนี้ ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร อดีต CEO บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เล่าถึงแผนระยะยาวของกลุ่ม ปตท.ในงานประชุมวิชาการที่จัดโดย สกอ. [5]
นั่นคือการสร้างสถาบันการศึกษาที่สามารถสร้างนักวิจัยที่เก่งระดับโลก ที่จะสร้างเทคโนโลยีพลังงานให้กับประเทศได้อย่างยั่งยืน

กลุ่ม ปตท. ได้เล็งเห็นว่าประเทศไทยควรมีสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และเป็นสถาบันการศึกษาด้านวิจัยอย่างแท้จริง
โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อผลิตนักวิจัย สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ประเทศเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
ดังเช่นประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลี และสิงคโปร์
สถาบันวิทยสิริเมธี และ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ จึงได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อสร้างบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ดีเลิศระดับโลก
โดยมี ดร.ไพรินทร์ดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาบันวิทยเมธี และประธานกรรมการบริหารโรงเรียนกำเนิดวิทย์ในปัจจุบัน
โดยสถาบันวิทยสิริเมธี ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่เน้นการวิจัยระดับโลก และพัฒนาบุคคลากรในระดับดีเลิศ มีจุดเด่น 6 ข้อ ได้แก่
ปัจจุบัน สถาบันวิทยสิริเมธีมีนักศึกษาแรกเข้าที่จบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมจากสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศจำนวน 87 คน
ซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทและเอก 2 รุ่น จาก 2 สาขาวิชา ได้แก่
นอกจากนี้ ยังมีสถาบันวิจัยภายใต้สถาบันวิทยสิริเมธี อีก 2 สถาบัน ได้แก่
โดยมีผลงานเป็นบทความที่ได้รับการตีพิมพ์จำนวน 4.62 บทความต่อปีต่ออาจารย์ 1 คน ซึ่งสูงกว่ามหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทยหลายเท่า
ส่วนโรงเรียนกำเนิดวิทย์ [6] ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2558
มุ่งหมายให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ที่มีการจัดการศึกษามาตรฐานระดับโลกให้กับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
เพื่อบ่มเพาะจิตวิญญาณของนักวิจัย นักประดิษฐ์ และนักนวัตกรรมให้กับเยาวชนที่มีศักยภาพสูงของประเทศ
โดยสรรหานักเรียนที่มีศักยภาพสูง และมีคุณสมบัติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดีเข้ามาเรียนในหลักสูตร
ที่เน้นพัฒนาศักยภาพเป็นรายบุคคลด้วยครูคุณภาพสูง และสิ่งอำนวยความสะดวกระดับดีเยี่ยม
นอกจากนี้ นักเรียนทุกคนที่เข้าเรียนที่โรงเรียนกำเนิดวิทย์จะได้รับทุนการศึกษาประมาณ 1 ล้านบาทต่อคนต่อปี
ซึ่งกลุ่ม ปตท.เป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดโดยไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ
ส่วนแผนระยะสั้นของกลุ่ม ปตท.ได้มีการจัดตั้งทีม Express Solution เมื่อเดือน กรกฎาคมที่ผ่านมา [7] ซึ่งเป็นทีมจัดตั้งใหม่ในกลุ่มปตท.
ได้เข้ามาดูเรื่องการสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจใหม่ ๆ สำหรับปตท. โดยเฉพาะ
ทีมนี้ได้คนหนุ่มไฟแรงอย่าง คุณต้อง กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร นักวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน).
เป็น Team Lead โดยนำเอาแนวคิด Design Thinking จาก d.School ของมหาวิทยาลัย Stanford
เข้ามาปรับใช้กับบริบทของ ปตท. และ สังคมไทย
Design Thinking [8] คือ ขั้นตอนการสร้างนวัตกรรมโดยพิจารณาถึงผู้ใช้งานเป็นหัวใจ ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 5 ขั้นตอน คือ
โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อผลิตนักวิจัย สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ประเทศเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
ดังเช่นประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลี และสิงคโปร์
สถาบันวิทยสิริเมธี และ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ จึงได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อสร้างบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ดีเลิศระดับโลก
โดยมี ดร.ไพรินทร์ดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาบันวิทยเมธี และประธานกรรมการบริหารโรงเรียนกำเนิดวิทย์ในปัจจุบัน
โดยสถาบันวิทยสิริเมธี ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่เน้นการวิจัยระดับโลก และพัฒนาบุคคลากรในระดับดีเลิศ มีจุดเด่น 6 ข้อ ได้แก่
- ฝึกวิจัยในสถานที่จริง ร่วมกับภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมในท้องที่ จ.ระยอง
- มีระบบนักวิจัยหลังปริญญาเอกเต็มเวลา โดยอาจารย์จะมีนักวิจัยหลังปริญญาเอกช่วยอย่างน้อย 3 คน เพื่อเพิ่มคุณภาพงานวิจัย
- มีระบบขับเคลื่อนบุคคลากรที่เข้มข้น ด้วย Tenure-track เต็มรูปแบบ ที่ประเมินผลงานด้านวิทยาศาสตร์ด้วยผู้ทรงคุณวุฒิระดับนานาชาติ
- ออกแบบหลักสูตรที่ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมและสังคม ซึ่งเป็นแบบสหวิทยาการที่มีทั้งวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
- สถาบันมีขนาดเล็กซึ่งทำวิจัยเฉพาะทางที่มุ่งเน้นคุณภาพ ไม่มุ่งเน้นปริมาณ
- สนับสนุนการวิจัยชั้นแนวหน้า ที่ร่วมมือกับสถาบันวิจัยอื่น ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ
ปัจจุบัน สถาบันวิทยสิริเมธีมีนักศึกษาแรกเข้าที่จบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมจากสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศจำนวน 87 คน
ซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทและเอก 2 รุ่น จาก 2 สาขาวิชา ได้แก่
- The Department of Material Science and Engineering อยู่ภายใต้ School of Molecular Science and Engineering
- The Department of Chemical and Biomolecular Engineering อยู่ภายใต้ School of Energy Science and Engineering
นอกจากนี้ ยังมีสถาบันวิจัยภายใต้สถาบันวิทยสิริเมธี อีก 2 สถาบัน ได้แก่
- Frontier Research Center เน้นการทำวิจัยแนวหน้าระดับโลก
- Vidyasirimedhi Institute of Science and Technology
โดยมีผลงานเป็นบทความที่ได้รับการตีพิมพ์จำนวน 4.62 บทความต่อปีต่ออาจารย์ 1 คน ซึ่งสูงกว่ามหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทยหลายเท่า
ส่วนโรงเรียนกำเนิดวิทย์ [6] ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2558
มุ่งหมายให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ที่มีการจัดการศึกษามาตรฐานระดับโลกให้กับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
เพื่อบ่มเพาะจิตวิญญาณของนักวิจัย นักประดิษฐ์ และนักนวัตกรรมให้กับเยาวชนที่มีศักยภาพสูงของประเทศ
โดยสรรหานักเรียนที่มีศักยภาพสูง และมีคุณสมบัติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดีเข้ามาเรียนในหลักสูตร
ที่เน้นพัฒนาศักยภาพเป็นรายบุคคลด้วยครูคุณภาพสูง และสิ่งอำนวยความสะดวกระดับดีเยี่ยม
นอกจากนี้ นักเรียนทุกคนที่เข้าเรียนที่โรงเรียนกำเนิดวิทย์จะได้รับทุนการศึกษาประมาณ 1 ล้านบาทต่อคนต่อปี
ซึ่งกลุ่ม ปตท.เป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดโดยไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ
ส่วนแผนระยะสั้นของกลุ่ม ปตท.ได้มีการจัดตั้งทีม Express Solution เมื่อเดือน กรกฎาคมที่ผ่านมา [7] ซึ่งเป็นทีมจัดตั้งใหม่ในกลุ่มปตท.
ได้เข้ามาดูเรื่องการสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจใหม่ ๆ สำหรับปตท. โดยเฉพาะ
ทีมนี้ได้คนหนุ่มไฟแรงอย่าง คุณต้อง กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร นักวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน).
เป็น Team Lead โดยนำเอาแนวคิด Design Thinking จาก d.School ของมหาวิทยาลัย Stanford
เข้ามาปรับใช้กับบริบทของ ปตท. และ สังคมไทย
Design Thinking [8] คือ ขั้นตอนการสร้างนวัตกรรมโดยพิจารณาถึงผู้ใช้งานเป็นหัวใจ ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 5 ขั้นตอน คือ
- Empathize คือการทำความเข้าใจลูกค้า หาปัญหาที่จะแก้ อาจใช้การสังเกต การเข้าไปใช้ชีวิตร่วม หรือการสัมภาษณ์ เพื่อให้เข้าใจกลุ่มเป้าหมายและปัญหาที่ต้องการแก้อย่างแท้จริง
- Define คือการระบุปัญหาที่ต้องการแก้อย่างชัดเจน ซึ่งต้องผ่านการ Empathize มาแล้ว
- Ideate คือการออกความคิดที่จะใช้แก้ปัญหา มักใช้การระดมสมองเพื่อให้ได้ idea จำนวนมากก่อน ในส่วนนี้ต้องใช้การคิดนอกกรอบและหาข้อมูล เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้แล้วจึงค่อย ๆ ใช้ critical thinking ตัดจนเหลือ idea ที่ดีจำนวนหนึ่ง
- Prototype คือการสร้างต้นแบบนวัตกรรมที่ใช้แก้ปัญหา ซึ่งต้องสร้างอย่างรวดเร็ว เข้าใจง่าย ชัดเจน และราคาถูก และนำไปใช้ทดสอบสมมุติฐาน
- Test คือการทดสอบแก้ปัญหาด้วยต้นแบบนวัตกรรมที่สร้างขึ้น กับกลุ่มเป้าหมายจริง จากนั้นเก็บข้อมูลที่ได้มาเรียนรู้ แล้ววนกลับไปทำขั้นตอนที่ 1 ใหม่ จนกว่าจะได้นวัตกรรมที่นำไปเป็นธุรกิจได้จริง

Express Solution ได้เริ่มต้นกิจกรรมด้วยการจัดการประกวดแบบ Crowdsourcing idea คือ การระดมความคิดจากคนภายนอก ปตท. ด้วยโจทย์ใกล้ตัว
เช่น การปรับปรุงสถานีบริการน้ำมันและร้านกาแฟ รวมถึงกำลังดำเนินการให้กลุ่ม ปตท. กลายเป็นกลุ่มทุนที่เรียกว่า Venture Capital ที่ลงทุนในกิจการ Startup ที่น่าสนใจได้
ถึงแม้ว่า ปตท. จะเป็นองค์กรใหญ่ ที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่ยากต่อการเปลี่ยนแปลง
แต่องค์กรใหญ่นี้ ก็ได้นำแนวคิดของการสร้างนวัตกรรม และการสร้างนวัตกรทั้งระยะสั้นและระยะยาวเข้ามาปรับใช้ในองค์กรเรียบร้อยแล้ว
โดยหน่วยงานนวัตกรรมเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้หน่วยงานอื่น ทำให้การนำเสนอไอเดียต่าง ๆ ไม่ต้องผ่านสายการอนุมัติหลายขั้นตอน
จึงสามารถเข้าสู่กระบวนการ fail fast, fail often ตามหลักการการสร้าง Startup ได้อย่างรวดเร็ว
ไม่ว่าหน่วยงานเหล่านี้ จะประสบกับความล้มเหลวในช่วงเริ่มต้น หรือประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว
แต่ด้วยแนวคิดการสร้างนวัตกรรมที่รวดเร็วและยืดหยุ่นในแบบที่กล่าวมา
อีกไม่นาน เราคงได้เห็น product ใหม่ ๆ ในร่มไม้ชายคาของกลุ่ม ปตท. ซึ่งสามารถพัฒนาไปเป็นธุรกิจที่ปรับตัวเองได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
เช่น การปรับปรุงสถานีบริการน้ำมันและร้านกาแฟ รวมถึงกำลังดำเนินการให้กลุ่ม ปตท. กลายเป็นกลุ่มทุนที่เรียกว่า Venture Capital ที่ลงทุนในกิจการ Startup ที่น่าสนใจได้
ถึงแม้ว่า ปตท. จะเป็นองค์กรใหญ่ ที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่ยากต่อการเปลี่ยนแปลง
แต่องค์กรใหญ่นี้ ก็ได้นำแนวคิดของการสร้างนวัตกรรม และการสร้างนวัตกรทั้งระยะสั้นและระยะยาวเข้ามาปรับใช้ในองค์กรเรียบร้อยแล้ว
โดยหน่วยงานนวัตกรรมเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้หน่วยงานอื่น ทำให้การนำเสนอไอเดียต่าง ๆ ไม่ต้องผ่านสายการอนุมัติหลายขั้นตอน
จึงสามารถเข้าสู่กระบวนการ fail fast, fail often ตามหลักการการสร้าง Startup ได้อย่างรวดเร็ว
ไม่ว่าหน่วยงานเหล่านี้ จะประสบกับความล้มเหลวในช่วงเริ่มต้น หรือประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว
แต่ด้วยแนวคิดการสร้างนวัตกรรมที่รวดเร็วและยืดหยุ่นในแบบที่กล่าวมา
อีกไม่นาน เราคงได้เห็น product ใหม่ ๆ ในร่มไม้ชายคาของกลุ่ม ปตท. ซึ่งสามารถพัฒนาไปเป็นธุรกิจที่ปรับตัวเองได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
ที่มา
- ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, "สยามโมเอโกะ" ทิ้งแหล่งน้ำมันบูรพา สู้ไม่ไหวราคาร่วงต้นทุนพุ่ง - "เชฟรอน" ขอส่งออกชั่วคราว (06 พ.ย. 2559), เข้าถึงได้จาก: https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1478414404
- บุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์, คมชัดลึก, บทอวสานของรัฐบาลประชานิยมเวเนซุเอลา (5 มิ.ย. 2559),เข้าถึงได้จาก: https://www.komchadluek.net/news/detail/228979.
- ผู้จัดการออนไลน์, ราคาน้ำมันทุบเศรษฐกิจแดนเศรษฐีน้ำมัน“ซาอุฯ” เล็งอ่อนข้อให้ “อิหร่าน” ร่วมมือพลังงานในอนาคต หลังคณะครม.ริยาดทั้งชุดโดนตัดเงินเดือน 20% (28 กันยายน 2559), เข้าถึงได้จาก: https://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000097787
- B. Schmitt, Germany's Bundesrat Resolves End Of Internal Combustion Engine (OCT 8, 2016), Retrieved from: https://www.forbes.com/sites/bertelschmitt/2016/10/08/germanys-bundesrat-resolves-end-of-internal-combustion-engine/#69cfc89731d9
- สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, การประชุมวิชาการ เรื่อง “Roles of Higher Education Institutions and Private Sector in STEM Education in Thailand” (8 สิงหาคม 2559), โรงแรมเดอะเบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ, กรุงเทพฯ.
- คมชัดลึก, สถาบันวิทยสิริเมธี-รร.กำเนิดวิทย์'อารยสถาปัตย์การศึกษา (29 มิ.ย. 2558), เข้าถึงได้จาก: https://www.komchadluek.net/news/ent/208807.
- Orn Smith, Techsauce, บทสัมภาษณ์ เมื่อ ปตท. เริ่มแผนการสนับสนุนและเตรียมลงทุนใน Startup (10 พฤศจิกายน 2559), เข้าถึงได้จาก: https://techsauce.co/interviews/ptt-expresso-first-startup-battle-and-future-plan/
- ReDesigning Theater, The Design Thinking Process (2012), Retrieved from: https://dschool.stanford.edu/redesigningtheater/the-design-thinking-process/
เขียนบทความโดย
ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ ทวยเจริญ
ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ ทวยเจริญ
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์