บทความ Excel, Access, SQL Server, ASP.NET, Windows, Database, IT
มีอะไรใหม่ใน .NET Core 2 และ C# 7 : Expression-Bodied Members (EBM)
สมาชิกแบบนิพจน์ฝังตัว (Expression-Bodied Members ย่อ EBM) ที่เริ่มใน C# 6.0 มาตอนนี้ใน C# 7.0 ได้ถูกเพิ่มเติมให้สนับสนุนสมาชิกแบบต่าง ๆ ได้มากขึ้นกว่าเดิม EBM เป็นคุณสมบัติที่ช่วยให้เราสามารถเขียนนิยามสมาชิกของclass ได้อย่างกระชับและอ่านเข้าใจได้ง่าย ใน C# 6.0 เราสามารถใช้ EBM ร่วมกับสมาชิกของ class 2 แบบ คือ method และ Property แบบอ่านได้อย่างเดียว ใน C# 7.0 เราสามารถใช้ EBM ได้กับสมาชิกของ class เพิ่มอีก 4 แบบได้แก่ Property constructor Finalizer และ Indexer

ข้อดีของภาษา C# เมื่อเทียบกับภาษาอื่น ๆ ตอนที่ 12
ในตอนที่ผ่านมาได้พูดถึงข้อดีของภาษาซีชาร์ปที่มีคุณสมบัติ Expression Trees หรือ “ต้นไม้นิพจน์” ซึ่งเป็นข้อดีในภาษาซีชาร์ปที่ไม่พบในภาษาอื่น ๆ หลายภาษาอย่างเช่นภาษาซี หรือในภาษาจาวาสคริปต์ที่มีต้นไม้นิพจน์แบบย่นย่อ ไม่ใช่ต้นไม้นิพจน์เต็มรูปแบบอย่างที่เรากำลังพูดถึงอยู่ในขณะนี้

การเลือกประเภทกราฟให้เหมาะกับงาน
หลายคนที่จะต้องนำเสนอข้อมูล เพื่อใช้ในการทำรายงาน ประชุม การนำเสนอด้วยกราฟเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ แต่เราจะเลือกกราฟอะไรดี จะลองสรุปให้ดูกันนะครับ ซึ่งสามารถนำไปใช้เลือกการนำเสนอให้เหมาะสมกับข้อมูล โดยนำไปใช้ในโปรแกรมอย่าง Excel หรือ Power BI หรือ Data Analytics ต่าง ๆ ได้

เก่งโค้ดงาน Business Intelligence ตอนที่ 5
ฟังก์ชันใด ๆ สามารถส่งค่ากลับเป็นฟังก์ชันได้ และฟังก์ชันนั้นอาจขึ้นกับค่าของพารามิเตอร์หนึ่งตัวหรือมากกว่าของฟังก์ชันเดิม แสดงคุณสมบัติการปิด ในโค้ดนี้ฟังก์ชันที่คู่กับฟิลด์ MyFunction ส่งค่ากลับเป็นฟังก์ชันที่ส่งค่าของพารามิเตอร์ที่กำหนดให้แก่ตัวมัน ค่าใหม่ของฟังก์ชันจะถูกส่งกลับมาทำ แต่ละครั้งที่ฟังก์ชันถูกเรียก ค่าของพารามิเตอร์จึงถูกส่งกลับไป

ข้อดีของภาษา C# เมื่อเทียบกับภาษาอื่น ๆ ตอนที่ 11
ข้อดีของภาษาซีชาร์ปคือมีคุณสมบัติดี ๆ ที่มีอยู่ในภาษาที่ได้รับความนิยมมากอย่างจาวาและไพธอน หนึ่งในคุณสมบัติเหล่านั้นคือ “ฟังก์ชันแบบอะนอนีมัส” (Anonymous Functions) ซึ่งเป็นบรรทัดคำสั่งหรือนิพจน์สั้น ๆ ที่ฝังตัวอยู่ในบรรทัดคำสั่งซึ่งสามารถใช้เมื่อใดก็ตามที่จำเป็นต้องใช้เดลลีเกต เราอาจใช้ฟังก์ชันแบบอะนอนีมัสเพื่อพร้างออพเจ็กต์เดลลีเกตแบบมีชื่อ หรือจะใช้เพื่อส่งออพเจ็กต์เดลลีเกตแบบมีชื่อไปเป็นพารามิเตอร์ของเมธอดก็ได้

เก่งโค้ดงาน Business Intelligence ตอนที่ 4
ถ้าเปรียบเรคคอร์ดเป็นตารางในฐานข้อมูล ฟิลด์ก็คือคอลัมน์ต่าง ๆ การดึงข้อมูลจากตารางในภาษา SQL เราใช้คำสั่ง select ภาษาเอ็มก็มีตาราง (table) ที่จะพูดถึงในหัวข้อต่อไป ส่วนในหัวข้อนี้เป็นการดึงข้อมูลจากเรคคอร์เฉพาะบางฟิลด์ที่กำหนด เราใช้วิธีเขียนคำสั่งซึ่งมีซินแท็กซ์ดังนี้

มีอะไรใหม่ใน .NET Core 2 และ C# 7 : คุณสมบัติ ref return ,ref local กับ Local Function
คุณสมบัติ ref return เริ่มตั้งแต่C# 7.0 จากนั้นพอมาถึงC# 7.3 ก็เพิ่มคุณสมบัติ ref local เพื่อให้ใช้งานคู่กัน ทำให้เขียนโค้ดฝั่งmethodและฝั่งตัวรับได้สะดวกยิ่งขึ้นไปอีก ปรกตินักเขียนโค้ดอย่างเราจะใช้ตัวกระทำ ref (ความจริงเป็นmodifierแต่เพื่อให้กระชับต่อไปนี้จะเรียกว่าเป็น “คำสั่ง” ) เมื่อต้องการส่ง “ค่าอ้างอิง” ไปเป็นพารามิเตอร์ (คือการส่งค่าไปยังmethodโดยส่งค่าอ้างอิงไป ไม่ได้ส่งค่าของตัวแปรไป) หรือที่เรียกว่า “การผ่านตัวอ้างอิง” (pass by reference) นี่เป็นคุณสมบัติที่มีในC#ตั้งแต่versionแรก แต่มาตอนนี้เราสามารถใช้คำสั่ง ref ในลักษณะอื่น ๆ ได้ด้วย ในตอนที่ผ่านมาผู้เขียนได้พูดถึงการการใช้ ref return ไปแล้วบางส่วน ในบทความตอนนี้จะอธิบายรายละเอียดของ ref return ที่เหลือ และจะต่อด้วยเรื่องคุณสมบัติ ref local ด้วย

Checkpoint หัวใจงานนำเสนอ
เทคนิคในการสร้างงานนำเสนอ ที่ตอนทำจริงมักจะลืม ก็เลยเป็นบทความสรุปจุดเช็ค (Checkpoint) ว่าการทำงานนำเสนอความคำนึงเรื่องอะไรบ้าง

มีอะไรใหม่ใน .NET Core 2 และ C# 7 : ตัวกระทำ is กับ คุณสมบัติใหม่ในคำสั่ง switch และ Ref local
เริ่มในภาษาC# เวอร์ชั่น 7.0 ขึ้นไปตัวกระทำ is มีความสามารถเพิ่มจากเดิมเพื่อใช้ในงานตรวจสอบรูปแบบที่ซับซ้อนได้ดีขึ้นกว่าเดิม ตัวกระทำ is ใช้หาชนิดของtypeเพื่อตรวจสอบความเข้ากันได้ขณะrunโปรแกรม มันทำหน้าที่ตรวจว่า objectหรือผลลัพธ์จากนิพจน์สามารถแปลงไปเป็นชนิดข้อมูลที่กำหนดได้หรือไม่ มีsyntaxอย่างที่เห็นในรูปที่ 1 บรรทัด 3

เก่งโค้ดงาน Business Intelligence ตอนที่ 3
ในภาษาเอ็มเราสามารถอ้างอิงถึงตัวแปรหรือสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ภายในสภาพแวดล้อมได้โดยใช้ “ตัวระบุ” หลักการนี้มีชื่อว่า “การอ้างด้วยตัวระบุ” (Identifier References IR) ซึ่งมีสองแบบคือ “การอ้างด้วยตัวระบุจำเพาะ” (Exclusive-identifier-reference EIR) ที่เป็นวิธีปรกติ กับ “การอ้างด้วยตัวระบุไม่จำเพาะ” (Inclusive-identifier-reference IIR) ซึ่งเป็นวิธีพิเศษ
