เลือกเทคโนโลยีอย่างมีส่วนร่วม...เพื่อคุณภาพชีวิตของพลเมือง (ตอนที่ 3)

สองเมืองอัจฉริยะที่เราจะพาไปเป็นเมืองที่อยู่ในทวีปยุโรป นั่นคือ Barcelona และ Amsterdam ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของ Smart City
และประสบความสำเร็จในการเป็น Smart City อย่างเป็นรูปธรรม เราไปดูกันค่ะว่าเขาทำกันอย่างไร
เมืองถัดมาเป็น Smart City ที่สร้างขึ้นเป็นเมืองที่ 5 ของยุโรป นั่นคือ เมือง Barcelona ของประเทศสเปน
ประเทศสเปนถูกพิษวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2008 ทำให้เศรษฐกิจของประเทศดิ่งเหว มีคนว่างงานถึง 25%
ทำให้ Barcelona ต้องเร่งเครื่องยนต์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อใช้ข้อมูลระหว่างหน่วยงานในการพลิกวิกฤตทางเศรษฐกิจให้ฟื้นขึ้นมาให้ได้ [9]
Barcelona ริเริ่มโครงการ Smart City ตั้งแต่ปี 2011 มีโครงการที่เกี่ยวข้องกับ Smart City กว่า 200 โครงการ
ไม่ว่าจะเป็นการใช้รถประหยัดพลังงานและสถานีชาร์ตรถยนต์ไฟฟ้า , การใช้เครือข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ , การจัดการขยะ ,
การติดเซนเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศและส่งสัญญาณ WIFI ไปทั่วเมืองเพื่อรับข้อมูลต่าง ๆ ,
การเปลี่ยนหลอดไฟเป็น LED เพื่อใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด , ระบบรถประจำทางอัจฉริยะที่บอกเวลามาถึงป้ายของรถประจำทางแต่ละคัน ,
ระบบเช่าจักรยานอัจฉริยะผ่านโทรศัพท์มือถือ , ระบบบริหารน้ำในสวนสาธารณะเพื่อลดการใช้น้ำในการดูแลต้นไม้และแหล่งน้ำในสวน ฯลฯ
ทั้งหมดนี้ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เพิ่มโอกาสให้พลเมือง และเมืองสามารถดำรงอยู่ด้วยตัวเองได้อย่างยั่งยืนด้วยสารพัดเทคโนโลยีที่นำเข้ามา

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา
พลเมือง Barcelona เริ่มตั้งคำถามถึงประโยชน์ของโครงการ Smart City ว่า
ทำเพื่อประชาชน หรือ เพื่อบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่กันแน่ ?
เนื่องจากมีหลายโครงการที่ใช้เงินภาษีจำนวนมหาศาลแต่ประชาชนไม่ได้เห็นประโยชน์ที่แท้จริง
ดังนั้นโครงการที่จะดำเนินการต่อ จะต้องทำให้คุณภาพชีวิตของพลเมืองชาว Barcelona ดีขึ้นอย่างชัดเจน
และเป็นนโยบายที่พลเมืองชาว Barcelona ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันสร้างขึ้น
นโยบายหนึ่งที่ทำขึ้นเพื่อลดมลพิษให้แก่พลเมืองชาว Barcelona คือ นโยบาย Superblock
เนืองจากเมือง Barcelona มีการวางผังเมืองเป็นบล็อกอย่างเป็นระเบียบสุด ๆ
ดังนั้นจะมีการจัดกลุ่มบล็อกขนาด 3x3 บล็อกเป็น Superblock
และแทนที่จะให้รถยนต์วิ่งบนถนนระหว่างบล็อกทุกบล็อก จะมีการจำกัดให้วิ่งรอบ Superblock เท่านั้น
และสงวนถนนภายใน Superblock ให้สำหรับรถทิ่วิ่งช้า เช่น จักรยาน
และจัดสวนไว้บนถนนใน Superblock เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวสำหรับคนในชุมชน
นอกจากนี้ ยังมีการตั้ง FAB LAB Barcelona ขึ้นเพื่อให้พลเมืองได้ศึกษาและเข้าใจเทคโนโลยี ทดลองใช้เทคโนโลยี
แล้วสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีให้กับเมือง Barcelona ได้ด้วยตัวเองได้
ไม่ว่าจะเป็น 3D Printer, Modeling Software ฯลฯ
เพื่อให้พลเมือง Barcelona เป็น Smart Citizen ที่มีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมได้ด้วยตนเอง
ในการตอบโจทย์ว่าเมือง Barcelona ในฐานะ Smart City ต้องการเทคโนโลยีอะไร
แทนที่ผู้ปกครองเมืองจะเป็นคนเลือกเทคโนโลยีและสั่งการลงมา
เมืองสุดท้ายที่ เราจะพาไปเยือนในบทความนี้คือ กรุงอัมสเตอร์ดัม เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์
กรุงอัมสเตอร์ดัมถูกจัดให้เป็น Smart City ที่ยอดเยี่ยมที่สุด
ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเป้าหมายในการทำให้ชีวิตของพลเมืองดีขึ้นพร้อมกับรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง
ด้วยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐ , บริษัทเอกชน , สถาบันการศึกษา , สถาบันวิจัย และตัวแทนจากองค์กรในภาคส่วนต่าง ๆ
ในการคัดเลือกแนวคิดและเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวเมือง
และมองเรื่องที่ต้องเป็นสิ่งที่สามารถรักษาให้คงอยู่อย่างยั่งยืนได้ต่อไป (sustainability) เป็นสำคัญ
โดยเป้าหมายของเมืองนี้คือการลดการใช้คาร์บอนได้ออกไซด์ลง 40% ภายในปี 2020
และลดลงให้ได้ 75% ภายในปี 2040
ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น
Tree WIFI ที่จะปล่อยสัญญาณ WIFI ฟรีออกมาให้ใช้ ถ้าในบริเวณนั้นมีสภาพอากาศที่ดี เพื่อให้พลเมืองที่อาศัยในบริเวณนั้นช่วยกันรักษาสภาพอากาศ
หรือการรณรงค์ให้ทุกบ้านติดแผงโซลาร์เซลเพื่อเป้าหมายให้พลเมืองทุกคนมีการผลิตไฟฟ้าของตนเอง
รถไฟทุกขบวนวิ่งด้วยพลังงานลม แม้กระทั่งสนามฟุตบอลก็ต้องใช้พลังงานสะอาด เช่น
ติดตั้งแผงโซลาร์เซล 4,200 แผงบนหลังคา พร้อมทั้งใช้พลังงานอีกส่วนมาจากพลังงานลม
ระบบทำความเย็นมาจากน้ำในทะเลสาบที่ใกล้สนามที่สุด เก้าอี้ทุกตัวทำมาจากชานอ้อย เพื่อให้สนามฟุตบอลก่อให้เกิดมลพิษน้อยที่สุด (Carbon Neutral)
ถึงแม้ว่ากรุงอัมสเตอร์ดัมจะมีประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และ อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลถึง 2 เมตร
แต่ก็มีบ้านลอยน้ำพร้อมห้องใต้น้ำที่ไม่หวั่นแม้วันน้ำมาก
นอกจากนี้อัมสเตอร์ดัมยังป้องกันน้ำท่วมจากฝนตกหนัก
โดยการแปลงพื้นที่หลังคาและพื้นที่สาธารณะให้เป็นฟองน้ำขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
เมื่อไรก็ตามที่มีการพยากรณ์ว่าฝนจะตกหนัก พื้นที่เหล่านี้จะแปลงร่างเป็นโครงสร้างฟองน้ำที่พร้อมกักเก็บน้ำฝนทันที
น้ำฝนที่กักเก็บได้บางส่วนถูกส่งไปที่โรงงานผลิตเบียร์และของเสียจากโรงงานผลิตเบียร์ก็ถูกส่งไปเป็นอาหารสัตว์
และกำลังวิจัยเพื่อนำไปทำพลาสติกอีกด้วย เรียกได้ว่าทุกอย่างไม่มีอะไรกลายเป็นขยะไร้ค่ากันเลยทีเดียว

จากบทเรียนที่เมืองอัจฉริยะเหล่านี้ได้รับ
ไม่ว่าจะเริ่มต้นด้วยเทคโนโลยี , เริ่มจากนโยบายของผู้ปกครองรัฐ หรือ เริ่มจากปัญหาของพลเมือง
สิ่งที่สำคัญที่สุดของการเป็น Smart City ก็คือเป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมืองให้ดีขึ้น
อาจจะด้วยเทคโนโลยีหรือไม่ก็ตาม แต่ต้องให้พลเมืองได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้
เพื่อประโยชน์ของพลเมืองเอง จึงจะเรียกได้ว่าเป็น Smart City อย่างแท้จริง
ที่มา
[1] | depa, "Smart City project for digital economy," depa, 2016. [Online]. Available: https://www.depa.or.th/en/projects/smart-city-project-digital-economy. [Accessed 9 July 2017]. |
[2] | S. LEESA-NGUANSUK, "Chiang Mai to become smart city," Bangkok Post, 11 Feb 2017. [Online]. Available: https://www.bangkokpost.com/tech/local-news/1196657/chiang-mai-to-become-smart-city. [Accessed 9 July 2017]. |
[3] | depa, "Smart City, driving Khon Kaen and E-san economy," depa, 27 August 2016. [Online]. Available: https://www.depa.or.th/en/news/smart-city-driving-khon-kaen-and-e-san-economy. [Accessed 9 July 2017]. |
[4] | VoiceTV, “ขอนแก่น สู่เมืองอัจฉริยะ Khon Kaen Smart City,” VoiceTV, 12 พ.ค. 2560. [ออนไลน์]. Available: https://shows.voicetv.co.th/tonightthailand/489334.html. [%1 ที่เข้าถึง9 ก.ค. 2560]. |
[5] | S. Musa, "Smart City Roadmap," Jan 2016. [Online]. Available: https://en.wikipedia.org/wiki/Smart_city. [Accessed 9 July 2017]. |
[6] | Channel News Asia, "Smart Cities 2.0," Channel News Asia, March-April 2017. [Online]. Available: https://www.channelnewsasia.com/news/catch-up-tv/smart-cities. [Accessed 10 July 2017]. |
[7] | K. Eckert, "File:View of Buildings from Central Park Bridge, Songdo IBD.jpg," 20 August 2014. [Online]. Available: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:View_of_Buildings_from_Central_Park_Bridge,_Songdo_IBD.jpg. [Accessed 9 July 2017]. |
[8] | U. N. p. b. M. C. S. 3. C. D. McCord, "File:Aerial view of damage to Kirikiri, Otsuchi, a week after a 9.0 magnitude earthquake and subsequent tsunami.jpg," 19 March 2011. [Online]. Available: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Aerial_view_of_damage_to_Kirikiri,_Otsuchi,_a_week_after_a_9.0_magnitude_earthquake_and_subsequent_tsunami.jpg. [Accessed 10 July 2017]. |
[9] | โลก 360 องศา , "โลก 360 องศา ตอน Barcelona Smart City ตัวอย่างดีๆของสเปน," 1 July 2017. [Online]. Available: https://www.youtube.com/watch?v=SrTaBOChaqI&t=1270s. [Accessed 10 July 2017]. |
[10] | kirkandmimi, “บาร์เซโลน่า-เมือง-ในเมือง,” 13 October 2016. [ออนไลน์]. Available: https://pixabay.com/th/บาร์เซโลน่า-เมือง-ในเมือง-2176452/. [%1 ที่เข้าถึง10 July 2017]. |
[11] | aotaro, "Singapore light trails | taken at Esplanade Bridge, Singapore| Flickr," 29 January 2016. [Online]. Available: https://www.flickr.com/photos/aotaro/24395729280/in/photostream/. [Accessed 22 July 2017]. |
[12] | WIRED UK, "Shenzhen: The Silicon Valley of Hardware," 5 July 2016. [Online]. Available: https://www.youtube.com/watch?v=SGJ5cZnoodY. [Accessed 22 July 2017]. |
[13] | Simbaxu, "File:Shenzhen_Skyline_from_Nanshan.jpg," 23 June 2016. [Online]. Available: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Shenzhen_Skyline_from_Nanshan.jpg. [Accessed 22 July 2017]. |
[14] | tddthien, "Free photo: Amsterdam, Holland, Netherlands - Free Image on Pixabay - 1931312," 25 December 2016. [Online]. Available: https://pixabay.com/en/amsterdam-holland-netherlands-1931312/. [Accessed 22 July 2017]. |
ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ ทวยเจริญ
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์