เลือกเทคโนโลยีอย่างมีส่วนร่วม...เพื่อคุณภาพชีวิตของพลเมือง (ตอนที่ 2)

ในตอนที่แล้ว เราได้ไปเรียนรู้แนวคิดการสร้าง Smart City จากประเทศที่เป็นสุดยอดด้านเทคโนโลยีอย่างประเทศเกาหลีใต้และญี่ปุ่นกันไปแล้ว
ในตอนที่ 2 นี้เราจะไปเยือนอีก 2 ประเทศที่คนไทยรู้จักกันดี และเป็นประเทศที่มีความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเร็วที่สุดในโลก
อย่างประเทศสิงคโปร์และประเทศจีนกันค่ะ
ประเทศแรกนี้ประกาศตัวว่าจะเป็น Smart nation ที่แรกของโลก นั่นคือประเทศสิงคโปร์
ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก
สิงคโปร์เน้นความเป็น Smart City ที่ใช้ข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาให้ถูกจุด
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพหรืออาชญากรรมโดยให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม
มีการสร้างซอฟต์แวร์จำลองเมือง Virtual Singapore ด้วยเงิน 52 ล้านเหรียญ
เพื่อจำลองสิ่งก่อสร้างทุกอย่างในสิงคโปร์มาเป็นเมืองเสมือนบนโลกดิจิทัล
แล้วนำมาทดสอบแนวคิดใหม่ ๆ ก่อนจะนำไปใช้จริง
เช่น การวางแผนอพยพในเหตุการณ์ภัยพิบัติ วางแผนการสร้างพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง การทดลองนำเทคโนโลยีล้ำ ๆ เช่น
รถยนต์ไร้คนขับ มาทดสอบก่อนใช้จริง ,
การจำลองการเดินทางของคนพิการในจากจุด A ไปจุด B เพื่อปรับปรุงทางสาธารณะให้คนพิการเดินทางได้สะดวกยิ่งขึ้น ,
มีเว็บไซต์ data.gov.sg ที่สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสิงคโปร์ ทำให้รัฐและประชาชนสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น
นอกจากนี้ยังมีนโยบายการเดินทางที่ให้สิทธิ์พิเศษสำหรับผู้ที่เดินทางนอกเวลาชั่วโมงเร่งด่วน
โดยมอบส่วนลดค่าอาหารและเครื่องดื่ม และ มีการใช้อัลกอริทึมจดจำใบหน้าคนจากบริษัท Fujitsu มาช่วยเก็บข้อมูลพลเมืองอีกด้วย

ขยับไกลออกมานิด แต่เป็นเมืองที่คนไทยคุ้นชื่อกันเป็นอย่างดี
เมืองนี้มีชื่อว่า เสินเจ้น
เมื่อ 30 ปีก่อน เสินเจิ้นเป็นเพียงหมู่บ้านประมงเล็กๆที่เต็มไปด้วยทุ่งนาและความว่างเปล่า
แต่ปัจจุบัน เสินเจิ้น กลายเป็นเมืองหลวงแห่งอิเล็กทรอนิกส์ [12] ของคน 18 ล้านคน
ที่มีเงินมาลงทุนให้กับบริษัท Startup มากเป็นอันดับ 2 รองจากอเมริกาเท่านั้น
เสินเจิ้นเป็นเมืองเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศจีน ได้เปิดโอกาสมากมายให้กับบริษัท Startup
ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมแบบเปิด (open source) ที่ใครงสร้างอะไรก็ยอมให้คนนำไปต่อยอดได้โดยไม่ต้องนึกถึงลิขสิทธิ์ ,
โรงงานผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถสร้างต้นแบบสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของคุณได้ด้วยเงินไม่มากและใช้เวลาไม่กี่วัน
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลากหลายตั้งแต่ราคาไม่กี่สตางค์จนเป็นล้านก็ขายกันอย่างเปิดเผยในห้างใหญ่กลางเมือง
เมืองเสินเจิ้นจึงเป็นสวรรค์ของนักประดิษฐ์อย่างแท้จริง เทคโนโลยีด้าน Smart City ที่เสินเจิ้นใช้ ได้แก่
ระบบจ่ายเงินของ WeChat ที่ทำให้ชาวเมืองไม่ต้องพกเงินสดอีกต่อไป, ระบบยืมจักรยานผ่าน QR Code ด้วยโทรศัพท์มือถือ ,
ระบบ Social Network , ช็อปปิ้งออนไลน์ , เรียกแท็กซี่ , ซื้อตั๋วภาพยนตร์ , ตั๋วเครื่องบิน , ตั๋วรถไฟ หรือขอใช้บริการพนักงานทำความสะอาด ฯลฯ
ทั้งหมดนี้ล้วนอยู่ในโปรแกรม WeChat ทั้งสิ้น
ความเจริญที่เข้ามาอย่างรวดเร็วนี้ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยในเสิ้นเจิ้นขึ้นมา 50% ในช่วงเวลาเพียง 2 ปี
และสูงกว่าค่าที่อยู่อาศัยในเซี่ยงไฮ้ไปเรียบร้อยแล้ว
ถึงแม้ว่าประเทศจีนจะเป็นประเทศที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก โดยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 28% ของทั้งโลก
แต่เสินเจิ้นกลับเป็นเมืองที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยและได้รับรางวัลเมืองแห่งสิ่งแวดล้อมดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2014
เสินเจิ้นมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน เช่น การส่งเสริมให้พลเมืองขี่จักรยาน , การจำกัดจำนวนรถยนต์ในเมือง ,
การจำกัดให้พลเมืองแต่ละคนมีโควต้าการสร้างคาร์บอน (คาร์บอนเครดิต) เป็นของตัวเองและซื้อขายแลกเปลี่ยนเองได้
แต่เสินเจิ้นก็ยัง ไม่ สามารถเรียกตัวได้ว่าเป็น Smart City อย่างแท้จริง
เนื่องจากยังไม่ได้มีความร่วมมือกับพลเมืองในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตพลเมืองอย่างชัดเจน

ถึงแม้ว่าความเจริญด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีจะเข้ามาและเติบโตในประเทศเหล่านี้อย่างรวดเร็ว
แต่ Smart City สองเมืองนี้ก็ยังไม่ทิ้งคุณภาพชีวิตที่ดีของพลเมือง
โดยมีความพยายามสร้างพื้นที่สีเขียว ลดมลพิษ และมองเห็นความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นสำคัญ
ในตอนหน้าเราจะไปดูสุดยอดแห่งเมืองอัจฉริยะในยุโรปกัน อย่าพลาดนะคะ
ที่มา
[1] | depa, "Smart City project for digital economy," depa, 2016. [Online]. Available: https://www.depa.or.th/en/projects/smart-city-project-digital-economy. [Accessed 9 July 2017]. |
[2] | S. LEESA-NGUANSUK, "Chiang Mai to become smart city," Bangkok Post, 11 Feb 2017. [Online]. Available: https://www.bangkokpost.com/tech/local-news/1196657/chiang-mai-to-become-smart-city. [Accessed 9 July 2017]. |
[3] | depa, "Smart City, driving Khon Kaen and E-san economy," depa, 27 August 2016. [Online]. Available: https://www.depa.or.th/en/news/smart-city-driving-khon-kaen-and-e-san-economy. [Accessed 9 July 2017]. |
[4] | VoiceTV, “ขอนแก่น สู่เมืองอัจฉริยะ Khon Kaen Smart City,” VoiceTV, 12 พ.ค. 2560. [ออนไลน์]. Available: https://shows.voicetv.co.th/tonightthailand/489334.html. [%1 ที่เข้าถึง9 ก.ค. 2560]. |
[5] | S. Musa, "Smart City Roadmap," Jan 2016. [Online]. Available: https://en.wikipedia.org/wiki/Smart_city. [Accessed 9 July 2017]. |
[6] | Channel News Asia, "Smart Cities 2.0," Channel News Asia, March-April 2017. [Online]. Available: https://www.channelnewsasia.com/news/catch-up-tv/smart-cities. [Accessed 10 July 2017]. |
[7] | K. Eckert, "File:View of Buildings from Central Park Bridge, Songdo IBD.jpg," 20 August 2014. [Online]. Available: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:View_of_Buildings_from_Central_Park_Bridge,_Songdo_IBD.jpg. [Accessed 9 July 2017]. |
[8] | U. N. p. b. M. C. S. 3. C. D. McCord, "File:Aerial view of damage to Kirikiri, Otsuchi, a week after a 9.0 magnitude earthquake and subsequent tsunami.jpg," 19 March 2011. [Online]. Available: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Aerial_view_of_damage_to_Kirikiri,_Otsuchi,_a_week_after_a_9.0_magnitude_earthquake_and_subsequent_tsunami.jpg. [Accessed 10 July 2017]. |
[9] | โลก 360 องศา , "โลก 360 องศา ตอน Barcelona Smart City ตัวอย่างดีๆของสเปน," 1 July 2017. [Online]. Available: https://www.youtube.com/watch?v=SrTaBOChaqI&t=1270s. [Accessed 10 July 2017]. |
[10] | kirkandmimi, “บาร์เซโลน่า-เมือง-ในเมือง,” 13 October 2016. [ออนไลน์]. Available: https://pixabay.com/th/บาร์เซโลน่า-เมือง-ในเมือง-2176452/. [%1 ที่เข้าถึง10 July 2017]. |
[11] | aotaro, "Singapore light trails | taken at Esplanade Bridge, Singapore| Flickr," 29 January 2016. [Online]. Available: https://www.flickr.com/photos/aotaro/24395729280/in/photostream/. [Accessed 22 July 2017]. |
[12] | WIRED UK, "Shenzhen: The Silicon Valley of Hardware," 5 July 2016. [Online]. Available: https://www.youtube.com/watch?v=SGJ5cZnoodY. [Accessed 22 July 2017]. |
[13] | Simbaxu, "File:Shenzhen_Skyline_from_Nanshan.jpg," 23 June 2016. [Online]. Available: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Shenzhen_Skyline_from_Nanshan.jpg. [Accessed 22 July 2017]. |
[14] | tddthien, "Free photo: Amsterdam, Holland, Netherlands - Free Image on Pixabay - 1931312," 25 December 2016. [Online]. Available: https://pixabay.com/en/amsterdam-holland-netherlands-1931312/. [Accessed 22 July 2017]. |
บทความโดย
ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ ทวยเจริญ
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์