เทคนิคการจัดวางองค์ประกอบในงานนำเสนอ

เทคนิคการจัดวางองค์ประกอบในงานนำเสนอ
ในการสร้างงานนำเสนอ นอกจากต้องใส่ใจในการเลือกข้อมูล ภาพ ฟอนต์ ให้เหมาะสม สอดคล้องกันแล้วเรายังจะต้องคำนึงถึงการนำองค์ประกอบต่างๆ มาจัดวางให้สวยงาม
และสื่อความหมายให้ได้มากที่สุด วันนี้จึงมาแนะนำเทคนิคการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ในงานนำเสนอ
ทำให้งานนำเสนอของคุณ สวย เป๊ะ โดดเด่นแบบมืออาชีพ
-
เทคนิคการจัดวางองค์ประกอบโดยการแบ่งส่วนภาพ
ในการจัดองค์ประกอบต่างๆ ในภาพหนึ่งภาพ จะมีข้อกำหนดว่าเราควรจัดวางส่วนสำคัญไว้ตรงตำแหน่งใด
คนดูจึงจะเห็น หรือส่วนที่สำคัญรองลงมา ควรวางไว้ตรงไหนโลโก้ของบริษัทควรไว้ตรงส่วนใดจึงจะเห็นได้ชัดเจน และเห็นก่อนเนื้อหาส่วนอื่นๆ
คุณจะมีคำถามมากมาย เมื่อคุณเริ่มจะวางองค์ประกอบต่างๆ ลงไป
เทคนิคการจัดวางองค์ประกอบโดยการแบ่งส่วนภาพจะช่วยให้คุณทำงานได้ง่ายขึ้น

จากภาพจะแบ่งส่วนออกเป็น 9 ส่วน โดยจะมีเลขกำกับเอาไว้ ความหมายของแต่ละเลขมีดังนี้
- ตำแหน่ง 0 เป็นตำแหน่งที่ไม่ควรวางองค์ประกอบที่ต้องการเน้นจุดสนใจ เพราะเป็นตำแหน่งที่สายตาคนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจ เพราะอยู่ในช่วงครึ่งๆ กลางๆ ของภาพ ไม่ใช่ช่วงที่สายตาจะโฟกัส
- ตำแหน่ง 1 เป็นตำแหน่งที่คนส่วนใหญ่เห็นเป็นอันดับแรกซึ่งเกิดจากความเคยชินในการกวาดตาเพื่ออ่านหนังสือ ดังนั้น เราเราจึงนิยมนำโลโก้ หรือหัวข้อเรื่องวางไว้ในตำแหน่งนี้
- ตำแหน่ง 2 เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญรองลงมาจากตำแหน่งที่ 1 เนื่องจากคนเราจะกวาดสายตาจากซ้ายไปขวา จึงเป็นตำแหน่งที่สามารถนำองค์ประกอบที่เน้นรองลงมา หรืออยากให้เห็นเป็นลำดับที่ 2 มาวางไว้ในส่วนนี้
- ตำแหน่งหมายเลข 3 เป็นตำแหน่งที่คล้ายกับตำแหน่งที่ 1 เพราะเป็นตำแหน่งสุดท้ายที่คนส่วนใหญ่กวาดสายตามอง ซึ่งก็สามารถดึงดูดสายตาได้เช่นกัน
- ตำแหน่งหมายเลข 4 เป็นตำแหน่งที่คนส่วนใหญ่มักจะให้เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญที่สุดในงาน เพราะเป็นจุดรวมของสายตา ถึงแม้ว่าจะไม่ดึงดูดสายตาได้เท่ากับตำแหน่งที่ 1,2,3 แต่ก็เป็นตำแหน่งที่คนจะแช่สายตาไว้ได้นานที่สุด ตำแหน่งนี้จึงนิยมที่จะใส่เนื้อหา หรือรูปภาพในส่วนที่เป็นข้อมูลหลักนั่นเอง

ภาพตัวอย่างสไลด์ส่วนเนื้อหา
จากภาพตัวอย่างที่ 1 จะเห็นได้ว่าในตำแหน่งที่ 1
เราจะวางหัวข้อของเนื้อหาไว้ในส่วนนั้น ตำแหน่งที่ 3
เราจะวางสโลแกนของบริษัทเอาไว้ เพื่อให้เป็นจุดสุดท้ายที่คนดูจะเห็น และจดจำได้
และตำแหน่งที่ 4 เป็นการจัดวางข้อมูลหลักในสไลด์นี้ นั่นเอง

ภาพตัวอย่างสไลด์ส่วนหน้าปก
จากภาพตัวอย่างที่ 2 จะเห็นได้ว่าในตำแหน่งที่ 4 คือส่วนชื่อของหน้าปกสไลด์ จึงนิยมวางไว้
ในตำแหน่งกึ่งกลาง เพื่อให้คนดูแช่สายตา และใช้เวลาในการอ่านข้อมูล และในตำแหน่งที่ 3
จะใส่โลโก้ของบริษัทเพื่อให้คนดูจดจำได้ว่าเป็นข้อมูลของใคร ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนตำแหน่งได้
หากอยากให้เห็นก่อน ควรวางไว้ในตำแหน่งที่ 1 ส่วนในตำแหน่งอื่นๆ ในภาพตัวอย่างจะเป็นการวางไอคอนกราฟิก
เพื่อเสริมการเล่าเรื่องให้น่าสนใจมากขึ้น แต่ไม่ได้เน้นให้เป็นข้อมูลหลัก เป็นการเสริมให้งานดูสวยงาม และเล่าเรื่องได้ดียิ่งขึ้น
ในตำแหน่งกึ่งกลาง เพื่อให้คนดูแช่สายตา และใช้เวลาในการอ่านข้อมูล และในตำแหน่งที่ 3
จะใส่โลโก้ของบริษัทเพื่อให้คนดูจดจำได้ว่าเป็นข้อมูลของใคร ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนตำแหน่งได้
หากอยากให้เห็นก่อน ควรวางไว้ในตำแหน่งที่ 1 ส่วนในตำแหน่งอื่นๆ ในภาพตัวอย่างจะเป็นการวางไอคอนกราฟิก
เพื่อเสริมการเล่าเรื่องให้น่าสนใจมากขึ้น แต่ไม่ได้เน้นให้เป็นข้อมูลหลัก เป็นการเสริมให้งานดูสวยงาม และเล่าเรื่องได้ดียิ่งขึ้น
-
เทคนิคการจัดวางภาพ และตัวหนังสือหากมีภาพถ่ายอยู่แล้ว แล้วอยากจัดวางตัวหนังสือลงไปให้สวยงาม และอ่านง่ายยิ่งขึ้น ก็สามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้ได้
-
วางในส่วนที่เป็นช่องว่างของภาพ หากภาพมีองค์ประกอบ หรือรายละเอียดต่างๆ มากมายบนภาพ ให้ลองมองหาช่องว่างในภาพ แล้วจัดวางตัวหนังสือหรือข้อมูลลงไปในส่วนนั้น ก็จะทำให้ดูเห็นเนื้อหาเราได้ง่ายขึ้น

ภาพตัวอย่างสไลด์การจัดวางในส่วนที่เป็นช่องว่างของภาพ
-
ใส่กรอบให้ตัวหนังสือ หากในภาพมีส่วนประกอบมากมาย จนไม่มีที่วางให้เราได้จัดวางตัวหนังสือ ให้ลองสร้างกรอบให้ข้อความง่ายๆ เช่น กรอบสี่เหลี่ยม กรอบที่มีความมนตรงมุม แล้วจัดวางเนื้อหาเอาไว้ตรงนั้น ก็จะทำให้คนดูมองเห็นทั้งภาพที่ต้องหารนำเสนอ และอ่านเนื้อหาได้ง่ายขึ้นด้วย โดยไม่มีการรบกวนสายตาจากรูปภาพพื้นหลัง

ภาพตัวอย่างสไลด์การจัดวางโดยใส่กรอบให้ตัวหนังสือ

ภาพตัวอย่างสไลด์การจัดวางโดยใส่กรอบให้ตัวหนังสือ
จากข้อมูลข้างต้น หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับนักออกแบบมือใหม่ทุกคนที่อยากจะลองออกแบบงานนำเสนอด้วยตัวเอง
รับรองว่าหากนำวิธีข้างต้นไปปรับใช้ การออกแบบงานนำเสนอให้สวย เป๊ะ โดดเด่นแบบมืออาชีพจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป