กลไกของ Blockchain ใน BitCoin : เทคโนโลยี ผสมพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนโลกได้ (ตอนที่ 3)

กลไกของ Blockchain ใน BitCoin : เทคโนโลยี ผสมพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนโลกได้ (ตอนที่ 3)
ในตอนที่ 3 นี้เราจะมาพูดถึงการใช้งาน Bitcoin กันนะคะ ทั้งการใช้งานเป็นเงินดิจิทัลและ การหารายได้จาก Bitcoin รวมถึงการคงอยู่ของสกุลเงิน Bitcoin มาเริ่มกันเลยค่ะ
อยากลองใช้งาน Bitcoin ทำอย่างไร
เราสามารถใช้งาน Bitcoin โดยการดาวน์โหลด Online Wallet App หรือเข้าไปใช้งานใน Online Wallet Web site ได้เลยค่ะ
ลอง google คำเหล่านี้ดูนะคะ มีกระเป๋าสตางค์หลายยี่ห้อให้เลือกใช้กันค่ะ
โดยภายในแอปพลิเคชันเหล่านี้ จะให้บริการซื้อขายและจ่ายเงินสกุล Bitcoin ให้เราโดยที่เราไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องกลไกภายใน Bicoin เลยค่ะ
ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปดูรายละเอียดของเงินใน Wallet ของตัวเองได้ อัตราแลกเปลี่ยนล่าสุด กิจกรรมที่เกิดขึ้นใน wallet ของตัวเอง และ key ของกระเป๋าสตางค์ของตัวเองได้ด้วยค่ะ
ซึ่งผู้ใช้ก็สามารถเก็งกำไรจากการแลกเปลี่ยนค่าเงิน Bitcoin เป็นการหารายได้ได้ทางหนึ่งค่ะ
ทั้งนี้กูรูจากหลายสำนักก็ฟันธงมาว่าราคาของ Bitcoin จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต แต่การเก็งกำไรจากค่าเงินก็มีความเสี่ยง โปรดศึกษาให้ถ่องแท้ก่อนเก็งกำไรนะคะ
Miner: เครื่องจักรทำเงินด้วยการ Mining
เพราะการ Mining สามารถทำเงินได้ถึง 25 Bitcoin หรือ ประมาณ 15,000 US Dollars
ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะลดลงครึ่งหนึ่งในทุก 4 ปี แต่ก็ทำให้มีคนจำนวนมากอยากเข้ามาเป็น miner ด้วย
เรามาลองดูกันนะคะ ว่าเราจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเป็น Miner ดีหรือไม่ ถ้าไม่ เขาใช้เครื่องแบบไหนกัน
- เครื่องคอมพิวเตอร์ PC
เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถคำนวณแฮชได้ประมาณ 10-20 MHz
ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 139,461 ปี จึงจะแก้ puzzle สำหรับ 1 บล็อกได้
ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 139,461 ปี จึงจะแก้ puzzle สำหรับ 1 บล็อกได้
- Graphic Card (GPU)
สามารถคำนวณแฮชพร้อมๆกันได้จำนวนมากเนื่องจากมี ALU จำนวนมาก และ เชื่อมต่อกันให้ทำงานพร้อมกันได้หลาย card ได้
อย่างไรก็ตาม GPU มีหน่วยคำนวณเลขทศนิยมที่ไม่ได้ใช้งานและใข้ไฟฟ้าปริมาณมาก
รวมถึงคำนวนการแฮชได้ 20-200 MHz และใช้เวลาประมาณ 173 ปี
จึงจะคำนวณแฮชสำหรับ 1 บล็อก ถึงแม้ว่าจะใช้การ์ดจอ 100 อันก็ตาม
อย่างไรก็ตาม GPU มีหน่วยคำนวณเลขทศนิยมที่ไม่ได้ใช้งานและใข้ไฟฟ้าปริมาณมาก
รวมถึงคำนวนการแฮชได้ 20-200 MHz และใช้เวลาประมาณ 173 ปี
จึงจะคำนวณแฮชสำหรับ 1 บล็อก ถึงแม้ว่าจะใช้การ์ดจอ 100 อันก็ตาม
- FPGA
หรือ วงจรที่ผู้สร้างระบบสามารถ customized ฮาร์ดแวร์เองได้ด้วยภาษา Verilog
วงจรแบบนี้ใช้ระบบระบายความร้อนน้อยกว่าใช้ GPU คำนวนการแฮชได้ถึง 100-1000 MHz
แต่ก็ใช้เวลาประมาณ 25 ปีจึงจะคำนวณแฮชสำหรับ 1 บล็อกได้ ถึงแม้ว่าจะใช้ FPGA 100 บอร์ดก็ตาม
วงจรแบบนี้ใช้ระบบระบายความร้อนน้อยกว่าใช้ GPU คำนวนการแฮชได้ถึง 100-1000 MHz
แต่ก็ใช้เวลาประมาณ 25 ปีจึงจะคำนวณแฮชสำหรับ 1 บล็อกได้ ถึงแม้ว่าจะใช้ FPGA 100 บอร์ดก็ตาม
- Bitcoin ASICs
เป็นวงจรที่สร้างขึ้นเพื่อ Bitcoin โดยเฉพาะ แต่ผู้ผลิตมักให้ผู้ซื้อ pre-order ก่อน ต้องจ่ายเงินเต็มจำนวนล่วงหน้า
และไม่รู้ว่าจะได้ของเมื่อไร แต่ก็ทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร นั่นคือใช้เวลาประมาณ 14 เดือนเพื่อคำนวณแฮชให้ 1 บล็อก ตกรุ่นภายใน 6 เดือน
และส่วนใหญ่หาบล็อกเจอภายใน 6 สัปดาห์แรก ดังนั้นผู้ซื้อมักต้องการเครื่องเร็ว ๆ ก่อนการแฮชจะยากขึ้นจนคำนวณได้ยากเกินไป
และไม่รู้ว่าจะได้ของเมื่อไร แต่ก็ทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร นั่นคือใช้เวลาประมาณ 14 เดือนเพื่อคำนวณแฮชให้ 1 บล็อก ตกรุ่นภายใน 6 เดือน
และส่วนใหญ่หาบล็อกเจอภายใน 6 สัปดาห์แรก ดังนั้นผู้ซื้อมักต้องการเครื่องเร็ว ๆ ก่อนการแฮชจะยากขึ้นจนคำนวณได้ยากเกินไป
- Professional mining centers
คือเปิดเป็น Data Center สำหรับเครื่อง mining โดยเฉพาะ ควรหาประเทศที่ราคาไฟฟ้าต่ำ อากาศเย็น และมีระบบเน็ตเวิร์กที่ดี เช่น จอร์เจีย ไอซ์แลนด์ เป็นต้น
ถึงแม้ว่าการหารายได้จากการ Mining จะดูเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับผู้ใช้งานรายย่อยในปัจจุบันแต่ก็ยังมีอีกหลายวิธีที่จะหารายได้จาก Bitcoin ทั้งการซื้อเก็บเพื่อเก็งกำไรจากค่าเงิน การโอนเงินข้ามประเทศ หรือ การซื้อขายสินค้าโดยจ่ายเงินจาก Bitcoin
ซึ่งสามารถทำธุรกรรมได้ง่ายกว่าผ่านสถาบันทางการเงินและมีค่าธรรมเนียมต่ำกว่ามาก ฯลฯ
เศรษฐศาสตร์ของ Bitcoin
อย่างไรก็ตาม ระบบของ Bitcoin จะทำงานได้
ก็ต่อเมื่อมีโหนดที่เป็นคนดี (ทำงานตามระบบที่วางไว้) มากกว่าโหนดที่เป็นคนไม่ดี(พยายามไม่ทำงานตามระบบ)
หากมีโหนดไม่ดีมากกว่าครึ่งหนี่งของโหนดทั้งหมด ก็อาจทำให้ระบบของ Bitcoin ถูกโจมตีได้
เช่น บาง transaction อาจไม่ถูก publish ใน blockchain เป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของระบบในที่สุด
ปัจจุบันมีโหนดในเน็ตเวิร์กของ Bitcoin เป็นล้านโหนด แต่มีโหนดที่ทำงานเต็มๆจริงๆเพียงหลักพันเท่านั้นเอง
Bitcoin จะคงอยู่และเติบโตได้ เนื่องจากปัจจัย 3 อย่าง ได้แก่
- Security ของ Blockchain
- ค่าของสกุลเงิน
- ความแข็งแกร่งของระบบการ mining
เช่น ยิ่ง Blockchain มี Security มาก คนก็เชื่อถือมาก ค่าของสกุลเงินก็ยิ่งแข็งแกร่ง ส่งผลให้มี miner เข้าร่วมในระบบมาก
และทำให้ security ของระบบยิ่งดียิ่งขึ้น เนื่องจากมีโหนดที่เป็นคนดีอยู่มากกว่าคนไม่ดีนั่นเอง
ในปัจจุบัน เงินสกุล Bitcoin ถือว่าเป็นสกุลเงินที่มีความมั่นคงเป็นอย่างมาก
และสามารถใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ทั่วโลก Online Wallet ก็มีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น
สามารถนำมาใช้ขึ้นแท็กซี่หรือจับจ่ายในห้างสรรพสินค้าในบางประเทศได้แล้ว
ต่อไปในประเทศไทย เราคงได้เห็นการใช้งาน Bitcoin กันมากยิ่งขึ้นนะคะ
ที่มา
- TechTalkThai (November 3, 2016). “ธนาคารกสิกรไทยจับมือ IBM นำ Blockchain มาสร้างบริการระบบจัดเก็บเอกสาร ใช้ยืนยันทางธุรกิจหรือกฎหมายได้แทนเอกสารกระดาษ เปิดให้ทุกองค์กรมาร่วมใช้งาน” . เข้าถึงได้จาก: https://www.techtalkthai.com/kasikorn-bank-and-ibm-offer-new-blockchain-based-service-to-enterprise-in-thailand/
- blognone (September 16, 2016). “ไทยพาณิชย์ลงทุนใน Ripple สตาร์ตอัพระดับโลกด้าน Blockchain สำหรับธนาคาร” . เข้าถึงได้จาก: https://www.blognone.com/node/85570
- Tech Sauce (Feb 12, 2017). “ไมโครซอฟท์ไทยออกคู่มือปฏิบัติสำหรับสถาบันการเงิน ในการใช้งานระบบคลาวด์และบล็อกเชน” . เข้าถึงได้จาก: https://www.blognone.com/node/90293
- Tech Sauce (4 พ.ค. 2016). “ทำความเข้าใจ Blockchain ใน 5 นาที สำคัญอย่างไร และเกี่ยวข้องอย่างไรกับ FinTech” เข้าถึงได้จาก: https://techsauce.co/technology/blockchain/understand-blockchain-in-5-minutes/.
- Arvind Narayanan (April 2017). “Bitcoin and Cryptocurrency Technologies”. เข้าถึงได้จาก: https://www.coursera.org/learn/cryptocurrency/.
- Dan Tapscott and Alex Tapscott (2016). “Blockchain Revolution”. Penguin Random House LLC.
บทความโดย
ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ ทวยเจริญ
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
Tags: